|
วันที่
4 สิงหาคม 2550 ถือเป็น วันสื่อสารแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นวันที่มีความสำคัญ
และมีความหมายอย่างยิ่งวันหนึ่ง
ในส่วนของประเทศไทยการสื่อสาร
เริ่มเข้ามามีบทบาทด้านการเมือง การปกครอง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3 อันเป็นช่วงที่บ้านเมืองปลอดจากภัยสงคราม วัตถุประสงค์ของการสื่อสารในยุคนั้น
เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศ เป็นยุคที่อารยธรรมตะวันตกเริ่มหลั่งไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
ต่อมาในยุคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
4 การสื่อสารได้เข้ามามีส่วนทำให้ประเทศชาติรอดพ้นจากการถูกคุกคาม
จากมหาอำนาจตะวันตก โดยการเปิดสัมพันธไมตรีทางการทูต กับประเทศเหล่านั้น
รวมทั้งรับเอาวิทยาการใหม่ ๆ มาปรับปรุงประเทศในเวลาต่อมา
ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ทรงวางรากฐานกิจการสื่อสารของประเทศ
ทรงเห็นความสำคัญของการสื่อสาร ว่าเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศ
จึงสถาปนา >กรมไปรษณีย์ และ
กรมโทรเลข ขึ้นอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 4 สิงหาคม 2426
|
ต่อมาได้ยุบรวมทั้งสองกรมไว้ด้วยกัน
เป็น กรมไปรษณีย์โทรเลข ภายใต้การดูแลของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเทคโนโลยีสารสน
เทศและการสื่อสาร ต่อมาได้มีการประกาศให้ยุบกรมไปรษณีย์โทรเลข และจัดตั้ง
สำนักงานคณะกรรม การกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ขึ้น โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2540 มาตรา 40 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ที่บัญญัติให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ
ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐ เข้ามาทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่วิทยุ
ซึ่งถือเป็น ทรัพยากรสื่อสารของชาติ ที่ต้องใช้เพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
และกำกับดูแลให้เกิดการแข่งขันเสรี อย่างเป็นธรรมอย่างแท้จริง
จากการปฏิรูปกิจการสื่อสารนี้เอง
ทำให้สถานภาพของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
เปลี่ยนมาเป็นหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ด้านกิจารโทรคมนาคมของประเทศ
และถือเป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อหน่วยงานรัฐ โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ชุดแรกจำนวน 7 คน ประกอบด้วย พลเอกชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธาน
กทช. ศาสตราจารย์เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ ศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์
ประพิณมงคลการ นายเหรียญชัย เรียววิไลสุข นายสุชาติ สุชาติเวชภูมิ
รองศาสตรา จารย์สุธรรม อยู่ในธรรม และ ดร.อาทร จันทวิมล (ปัจจุบันลาออกแล้ว)
บทบาทหลักของ
กทช. คือ การบริหารคลื่นความถี่ เพื่อกิจการโทรคมนาคมและกำกับควบคุมดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐและประโยชน์สาธารณะ
อื่น ๆ ดูแลผลักดันให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมถึงส่งเสริมบทบาทด้านโทรคมนาคมไทยในเวทีโลก
เพื่อให้การโทรคมนาคมไทยเจริญก้าวหน้า อันจะส่งผลให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองในทุกด้านตามมา
นอกจากนี้
หน้าที่ที่สำคัญของ กทช. ตามภารกิจที่กฎหมายบัญญัติไว้มีอยู่อีกมากมายหลายประการ
อาทิ ด้านการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ สำหรับผู้ประกอบการ การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม
การจัดสรรความถี่วิทยุเพื่อประโยชน์สาธารณะในด้านความมั่นคงของรัฐ
การให้บริการประชาชน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การช่วยเหลือสังคม
และการเปิดเสรีสำหรับบริการอินเทอร์เน็ตให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม
อีกทั้งด้านการบริหารทรัพยากรและโทรคมนาคมอื่น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
อาทิ การจัดทำแผนเลขหมายโทรคมนาคมและการบริหารเลขหมายโทรคมนาคม
รวมทั้งกำกับดูแลการบริหารเลขหมายให้เกิดความเป็นธรรม คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด
สิ่งที่ประชาชนจะได้รับจาก
กทช. นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ก็คือการดำเนินนโยบายให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง
ไปยังท้องถิ่นที่ห่างไกล และบริการโทรคมนาคมพื้นฐานในถิ่นทุรกันดาร
การจัดตั้งศูนย์ประสานงานโทรคมนาคมกรณีเกิดภัยพิบัติ และภาวะฉุกเฉินขึ้น
ส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม
กทช. ไม่เคยละเลยความสำคัญของเทคโน โลยี และการสื่อสารที่กำลังก้าวไปอย่างรวดเร็ว
พร้อมกับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น เนื่องในวันคล้ายวันสื่อสารแห่งชาติ
กทช. พร้อมตั้งมั่นในปณิธานก้าวสู่การเป็นองค์กรที่มีจุดมุ่งหมาย
เพื่อจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ ให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชนอย่างสูงสุด
รวมทั้งกำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มุ่งสร้างความสัมพันธ์
ความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า และความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติต่อไป.
|