หากพูดถึง ตั๋วจำนำ จะนึกถึงกระดาษสีขาวๆ เขียนรายละเอียดทรัพย์สิน มีลายมือผู้ถือ พร้อมชื่อนามสกุล เก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์ แน่นอนอยู่แล้วสำหรับใครที่มีของมีค่า ไม่ว่าจะเป็น สร้อยทอง แหวนเพชร กำไลพลอย นาฬิกาเรือนเพชร เรือนทอง หัวรถไถ ทีวี โน๊ตบุ๊ค กล้องถ่ายรูป มือถือ ฯลฯ
หากต้องการใช้เงินในยามจำเป็น ก็ต้องเอาของมีค่าทั้งหลายไปที่โรงรับจำนำ ไม่ว่าจะเป็นโรงรับจำนำของรัฐบาล หรือของเอกชน บางที่เรียกว่าสถานธนานุบาล ซึ่งส่วนใหญ่ที่เห็นผู้คนเอาไปจำนำกัน อันดับต้นๆ ก็จะเป็น ทองคำ ไม่ว่าจะเป็น สร้อยคอทองคำ แหวนทองคำ กำไลทองคำ เพราะทองคำซื้อหากันง่าย ราคาถูกกว่าเพชร
ในโรงรับจำนำก็จะมีผู้เชียวชาญ และเครื่องมือต่างๆในการตรวจเช็คสิ่งของที่ผู้เอามาจำนำนำมา เรียกว่าสิ่งของที่นำมา มีหลากหลายมากๆ สิ่งหนึ่งในนั้นก็จะมีเครื่องชั่ง เอาไว้ชั่งทองคำ และกล้องส่อง เหมือนกล้องส่องพระ เอาไว้ส่องดูตราประทับที่ห่วงของเครื่องประดับ หรือส่องดูพระ
เมื่อเรานำของไปให้โรงรับจำนำตีราคา ราคาที่ได้จะน้อยมากๆ แบบว่าราคาขายกับราคาจำนำครึ่งต่อครึ่งเลยก็ว่าได้ ซึ่งดอกเบี้ยก็แล้วแต่ทางโรงรับจำนำกำหนด มีตั้งแต่ 1.75 – 3.00 เปอร์เซ็นต์ บางที่ต้องไปต่อดอกทุกเดือน บางที่ 5 เดือนต่อดอก 1 ครั้งก็มี
ถ้าผู้จำนำลืมต่อดอก สิ่งของก็จะหลุดจำนำ ทางโรงรับจำนำก็จะนำไปขายทอดตลาด หรือนำไปขายให้กับแหล่งรับซื้อที่รู้จัก แต่ก็มีบุคคล หรือร้านค้าที่เปิดรับซื้อตั๋วจำนำขึ้นมา ซึ่งก็แล้วแต่ร้านว่าจะรับซื้อตั๋วจำนำสิ่งของอะไร ไม่ว่าจะเป็นรับซื้อตั๋วจำนำเครื่องประดับ ตั๋วจำนำโน๊ตบุ๊ค ตั๋วจำนำมือถือ ฯลฯ
ซึ่งร้านรับซื้อตั๋วจำนำก็จะให้ราคาดีกว่าที่ผู้ไปจำนำไปให้สินค้าหลุดไป พอได้เงินมาบ้าง ดีกว่าปล่อยหลุดไปโดยไม่ได้เงินมาเลย
ตั๋วจำนำ ถ้าหากท่านใดมีก็อย่าลืมต่อดอกนะครับ ไม่งั้นสิ่งของมีค่าของท่านจะไม่ได้คืนนะครับ