เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่น “ตองโข่” รุ่น 1
เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่น “ตองโข่” เป็นการเรียกของทหารกองทัพเมืองไต (ไทยใหญ่) เหรียญนี้เป็นการร่วมมือกันสร้างระหว่างผู้นำกองทัพเมืองไต โดย “หนุ่มหาญศึก” กับ “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์” นายกรัฐมนตรีของไทยในสมัยนั้นและยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ร่วมกันจัดสร้างเหรียญบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้น จำนวน 1,000 เหรียญ (บ้างก็ว่า 2,000 เหรียญ แบ่งกันฝั่งละ 1,000 เหรียญ)
เหรียญของสมเด็จพระนเรศวร ตองโข่ ปัจจุบันนี้ หายากมาก เพราะไม่มีการทำขึ้นมาอีก เหรียญนี้ ฯพณ ฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชติ์ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย สร้างให้เจ้าหนุ่มศึกหาญ เจ้าไทยใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2503 เหรียญนี้ได้ผ่านพิธีมงคลภิเษกถึง 2 ครั้งด้วยกัน โดยพระเกจิคณาจารย์ล้วนชื่อดังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนในสมัยนั้นมากมาย
พิธีมงคลพุทธาภิเษกครั้งแรกมีขึ้นที่วัดราชบพิธสถิตสีมาราม กทม. ต่อมาได้ทำพิธีอีกครั้งที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก (วัดใหญ่ ) และพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวร ณ พระราชวังจันทน์ (สถานที่ประสูติ)
เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่น “ต๊กโข่” หรือ “ตองโข่” เป็นการเรียกทหารของกองทัพเมืองไต ของคนล้านนา ทั้งนี้เพื่อซึมซับน้อมนำใจศรัทธาในพระบารมี และพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ช่วยรักษา ปกป้อง คุ้มครองภัยในการปฏิบัติภารกิจใหญ่ ที่เป็นอันตรายและมากด้วยศาสตราวุธนานาชนิด กล่าวกันว่าพระบารมี ของพระองค์ปกป้องคุ้มครองให้พ้นจากคมกระสุนของผ่ายตรงข้ามได้อย่างปาฏิหาริย์ เหตุการณ์นี้บังเกิดความอัศจรรย์ใจ และเพิ่มพลังศรัทธา พลังใจแก่กลุ่มเหล่าทหารหาญของกองทัพเมืองไตยิ่งนัก
ส่วนความเกี่ยวพันระหว่างองค์สมเด็จพระนเรศวรกับชนชาติไทใหญ่นั้น มีเรื่องราวเล่าขานดังนี้ เมื่อสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรยังทรงพระเยาว์ ตอนที่ถูกจับไปเป็นเชลยศึกที่กรุงหงสา พระองค์ท่านมีพระสหายเป็นลูกเจ้าฟ้าเมืองไต ชื่อว่าเจ้าคำก่ายน้อย ซึ่งทั้งสองพระองค์ต่างก็เป็นเชลยศึกเหมือนกัน และเคยสัญญากันว่า อนาคตข้างหน้าสองพระองค์จะช่วยกันรบเคียงบ่าเคียงใหล่กับกองทัพของพม่าด้วยกัน ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่ง กองทัพเมืองไต ถูกกองทัพอังวะ บุกเข้ามาตีเมืองไต ซึ่งตอนนั้นเจ้าคำก่ายน้อยทรงปกครองอยู่ ร้อนถึงสมเด็จพระนเรศวรที่ทรงทราบว่า เจ้าฟ้าคำก่ายน้อยถูกโจมตี จากกองทัพอังวะ พระองค์จึงได้กรีฑาทัพไปช่วยรบ แต่พระองค์ท่านไม่ทันถึงเมืองนาย ก็ทรงมาสวรรคตเสียก่อนด้วยโรคไข้ป่า ที่ ทุ่งดอนแก้ว เขตเมืองห้างหลวง แขวงเมืองเชียงใหม่ พอเจ้าฟ้าคำก่ายน้อยทรงทราบว่า องค์สมเด็จพระนเรศวรทรงสวรรคต เสียแล้ว ทำให้เจ้าฟ้าคำก่ายน้อยทรงหมดกำลังใจ และพ่ายแพ้ศึกสงคราม และทรงสิ้นพระชนม์ไปในการสงครามครั้งนั้นเอง
อีกกรณีหนึ่ง คือเมื่องปี พ.ศ. 2500 มีคนไทใหญ่ได้ค้นพบเจดีย์ร้างอยู่กลางป่า ในเขตเมืองหาง ซึ่งชาวไทใหญ่ต่างเชื่อว่า เป็นพระสธูปที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระนเรศวร จึงเกิดความเลื่อมใส และให้ความเคารพบูชาเสมอมา แม้กระทั้งเหล่าทหารหาญของกองทัพไตก็ทรงศัทธาในพระสธูปนี้เช่นกัน เมื่อจะทำการออกศึกรบกับกองทัพพม่าคราใด ก็จะมีการบวงสรวงองค์พระสธูปนี้ทุกครั้ง ทำให้เหล่าทหารหาญมีความฮึกเหิม ไม่กลัวต่อการสงคราม ที่สำคัญจะมีชัยชนะทุกครั้งที่ออกรบ ทำให้ผู้นำกองทัพทหารพม่า สงสัยว่าทำไมทหารไทใหญ่ถึงฮึกเหิม ไม่เกรงกลัวกองทัพพม่าเช่นนี้ มีเหตุจูงใจอันใดกัน จึงได้ส่งไส้ศึกไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกองทัพเมืองไต จึงได้รู้ว่า กองทัพเมืองไตมีความศัทธาในพระสธูปเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งเชื่อว่า เป็นพระสธูปที่บรรจุพระอัฐิองค์สมเด็จพระนเรศวร จึงได้สั่งให้ทางกองทัพพม่าบุกเข้าไปทำลาย โดยการใช้อาวุธหนัก เพราะว่าเคยใช้รถไถ รถเกรด ไปทำลายองค์พระสธูป แต่เกิดเรื่องอัศจรรย์ใจทุกครา คือเวลารถไปไถ ไปเกรด เครื่องยนต์ รถก็จะดับทุกครา ไม่สามารถทำงานได้ กว่าจะทำลายพระสธูปเจดีย์นี้ ใช้เวลายาวนานมาก ซึ่งกองทัพพม่าได้ทำลายพระสธูปเจดีย์สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2502
ส่วนเหรียญของสมเด็จพระนเรศวร รุ่นนี้ (รุ่น 1) ปัจจุบันนี้ หายากมาก เพราะไม่มีการทำขึ้นมาอีก เหรียญทหารไทยกับทหารไทยใหญ่ พูดกันว่าเป็นเหรียญที่คงกะพันมากๆ (เหนียวสุดๆ) เป็นที่รักและหวงแหนของผู้ที่ได้ครอบครองเป็นอย่างยิ่งครับ
เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่น “ตองโข่” แบบเดียวกัน ที่สร้างโดยเจ้ายอดศึก เรียกว่าเหรียญรุ่น 2