ค้ำโช๊คคือะไร
เหล็กค้ำโช๊ค (Strut Tower Bar) , (Strut Bar) หรือบางคนเรียก ไทร์บาร์
เป็นแกนกลางยึดระหว่าง หัวเบ้าโช๊คทั้งสองด้านของตัวถังรถยนต์ มีหน้าแปลนยึดติดกับหัวเบ้าโช๊ค หน้า – หลัง หรือค้ำยันกับตัวถังรถส่วนใดส่วนหนึ่ง จุดประสงค์การผลิตทำขึ้นเพื่อลดอาการบิดตัวของตัวถังรถ จริงๆแล้วความนุ่มนวลในการขับขี่ และ การเกาะถนนนั้น ได้รับตัวแปรสำคัญมาจากตัวถังรถ (ง่ายๆว่า) ตัวถังจะมีการบิดตัวไปมา ซ้าย-ขวา บน-ล่าง ตามสภาวะจริงที่รถวิ่งผ่านไปตามสภาพถนน (ถ้าคุณได้เคยเห็นภาพการทดสอบตัวถังรถ จะเห็นว่าจริงๆแล้วตัวถังสามารถบิดตัวได้น่าอย่างอัศจรรย์) เป็นส่วนทำให้รถมีการขับขี่ที่นุ่มนวล ดังนั้นการเพิ่มจุดเชื่อมตัวถัง การตีโรลบาร์ หรือการสร้างเหล็กมาเสริมความแข็งแรงกับตัวถังรถ รวมถึงการติดตั้ง Strut Tower Bar นั้นเป็นวิธีการที่วงการแข่งขันรถยนต์ทำนิยมกัน เพื่อรองรับการใช้งานที่หนักขึ้นและลดการบิดตัวของตัวถังนั่นเอง
ชนิดของ Strut Tower Bar
มี 2 แบบ คือแบบปรับตั้งไม่ได้ เป็นลักษณะเชื่อมติดตายตัว กับหน้าแปลนยึดเบ้าโช๊ค หรือมีน็อตไขติด แบบนี้จะช่วยในด้านความแข็งแรงมากกว่า กับแบบปรับตั้งได้ ส่วนแบบนี้จะเป็นแบบละเอียดช่วยในด้านการค้ำยันตัวถัง ด้วยการปรับตั้งให้เบ้าโช๊คทั้ง 2 ด้านให้หุบเข้าหรือ กางออก
วัสดุในการผลิต Strut Tower Bar
วัสดุที่ใช้มีทั้งแบบที่เป็นเหล็กทั้งหมดซึ่งส่วนมากจะเป็นเหล็กเกรดพิเศษซึ่งความแข็งเหนียว ยืดหยุ่นได้ดีพวกโคโมลี่ ชนิดนี้จะมีความแข็งแรง แต่ก็ให้ความแข็งกระด้างมากเพราะการให้ตัวน้อย ส่วนแบบที่เป็นอะลูมิเนียมพวกนี้จะให้ทั้งน้ำหนักที่เบา และมีความยืดหยุ่นมากกว่า จนถึงแบบที่ทำด้วย ไททาเนียม พวกนี้เน้นที่น้ำหนักเบา และความแข็งแรงสูง (พอๆกับราคา) ส่วนแบบที่ใช้ทั้งเหล็ก และอลูมิเนียมร่วมกัน พวกนี้จะให้ทั้งความแข็งแรง และความยืดหยุ่นไปด้วยพร้อมๆกัน ในปัจจุบันนิยมแบบที่ทำด้วยกราไฟท์ หรือคาบอนเคฟล่า แบบนี้จะให้ความสวยงาม ความยืดหยุ่นดี เรื่องของขนาด ความหนา และรูปทรง รวมถึงจุดยึดต่างๆ และการเลือกใช้วัสดุแกนกลางนั้น ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นทั้งสิ้น ซึ่งจะให้ผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
ประโยชน์ของ Strut Tower Bar
มีประโยชน์มากมาย ตั่งแต่ ช่วยให้การควบคุมรถได้ดีขึ้น ทำให้ตัวถังรถแข็งแรงมากขึ้น ลดอาการเสียหายกับตัวถังโดยเฉพาะรถที่ใช้งานหนัก หรือรถเปลี่ยนช่วงล่างให้ที่แข็งขึ้นมากๆ ซึ่งจะทำให้ภาระทั้งหมดตกมาเป็นของตัวถังรถ ซึ่งจะช่วยลดภาระของตัวถังได้มาก และช่วยในการปรับตั้งมุม Camber ให้กับรถที่เกิดอุบัติเหตุ ได้อีกด้วย
ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น กับ Strut Tower Bar
บ่อยครั้งที่เราจะได้พบความเสียหาย กับ ค้ำโช๊คในรูปแบบต่าง ๆ เช่นค้ำโช๊คงอ บิดเบี้ยว เสียรูป หรือค้ำโช๊คหัก ทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่ตัวถังรถ ได้รับแรงกระทำมาก เช่นตกหลุมแรงๆ หรืออุบิติเหตุ เป็นเพราะการบิดตัวของตัวถังที่รุนแรง การบิดตัวเข้าหากัน รวมถึงการติดตั้งแบบไม่ถูกต้อง
ตัวถังของรถยนต์ประกอบเข้ากันด้วยด้วยการเชื่อมแบบSpot เพื่อให้สามารถให้ตัวและดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้ ซึ่งตามมาตรฐานจากโรงงานก็ให้ความแข็งแรงในระดับหนึ่งและรองรับการใช้งานปกติได้
แต่เมื่อมีการนำรถไปโมดิฟายเครื่องยนต์เพื่อใช้งานแบบแข่งขัน โดดคอสะพาน , เข้าโค้ง หรือขับด้วยความเร็วสูง จะทำให้ตัวถังรถเกิดการบิดตัวมาก ทำให้รถท้ายปัด และไม่นิ่ง
การนำเอาค้ำโช๊คมาใส่จึงเป็นการเสริมความแข็งแรงเพื่อลดการบิดตัวของตัวถังรถ เป็นการแก้ปัญหาได้วิธีหนึ่ง
ซึ่งค้ำโช๊คก็จะมีค้ำหน้าบนและหลังบนหรือเรียกอีกอย่างว่า Upper Front and Rear Sturt Bar โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะยึดติดกับเบ้าโช๊คด้านบน ทั้งหน้าและหลัง จะทำหน้าที่ลดการบิดตัวของตัวถัง นอกจากนี้ก็ยังมีอุปกรณ์สำหรับกันตัวถังช่วงกลางบิดตัว ( Cross Bar ) ซึ่งเจ้าอุปกรณ์ดังกล่าวจะติดตั้งไว้ภายในห้องโดยสารช่วงหลังเบาะคนขับ
ด้านล่างก็จะมีค้ำล่างหน้าและหลังหรือเรียกอีกอย่างว่า Lower Arm Front and Rear
อุปกรณ์ดังกล่าวทำหน้าที่ยึดบู๊ทปีกนกซ้ายและขวาทั้งหน้าและหลังไม่ให้ดิ้น
เมื่อไม่ดิ้นเวลาตกหลุมจะไม่เกิดอาการเซ และทำให้การเข้าโค้งดีขึ้นลดอาการท้ายปัดได้
การติดตั้งเจ้าอุปกรณ์ดังกล่าว ควรทำร่วมกับการปรับโช๊คอัพให้มีค่าBump และRebound ที่เหมาะสมด้วยค่ะ
การติดค้ำโช๊ค ไม่ว่าจะแบบบนหรือล่าง หน้าหรือหลัง ถามว่าติดแล้วดีขึ้นเท่าไร
คงตอบเป็นเปอร์เซ็นต์ยาก เพราะคนส่วนใหญ่ใช้การวัดผลด้วยความรู้สึกเป็นหลัก
แต่ถ้าถามว่ามันดีขึ้นใหม จาการสอบถามผู้ใช้ส่วนใหญ่จะได้คำตอบว่าดีขึ้นคะ
ส่วนหนึ่งดูได้จากการเตรียมรถเพื่อการแข่งขัน ไม่ว่าจะทางฝุ่น , ทางเรียบ , ทางตรง
ทุกรูปแบบสนาม จะพบว่ารถแข่งแทบทุกคันก็จะติดเจ้าอุปกรณ์นี้
Leave a Reply