10 สัญญาณเตือนภัยของรถคุณ
1. สัญญาณเตือน
เราสามารถรับสัญญาณบอกอาการผิดปกติของรถได้ โดยใช้ประสาททั้ง 5 คือ การเห็น การฟังเสียง การได้กลิ่น การจับต้องชิ้นส่วนนั้น ๆ และการลองขับดู ถ้าสังเกตพบสิ่งผิดปกติต่อไปนี้ ให้รีบทำการตรวจเช็คและซ่อมแซมโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ มากขึ้นกว่าเดิม
2. เครื่องยนต์
เครื่องยนต์คือหัวใจของรถ ถ้าเครื่องยนต์มีอาการดังนี้
– เครื่องร้อนจัดเกินไป ขับไปได้ไม่เท่าไร ความร้อนก็ขึ้นสูงเสียแล้ว
– เครื่องเย็นเกินไป แม้จะขับมาระยะทางไกลพอสมควรแล้ว เข็มวัดอุณหภูมิยังไม่กระดิก
– มีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์
ควรนำเข้าตรวจสภาพที่ศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ
3. ยาง
การสึกหรอของดอกยางแบบต่าง ๆ บอกเราได้ว่ายางผิดปกติไปอย่างไร
– ดอกยางตรงกลางล้อ สึกหรอมากกว่าขอบ แสดงว่าเติมลมแข็งเกินไป
– ดอกยางขอบล้อ สึกหรอมากกว่าตรงกลาง แสดงว่าเติมลมอ่อนเกินไป
– ดอกยางสึกหรอข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่ามุมแนวตั้งของยางไม่ตรง
– ดอกยางเป็นบั้ง ๆ แสดงว่าแนวของยางไม่ขนานกับแนวเคลื่อนที่ของรถ
นำรถเข้าอู่เพื่อตั้งศูนย์ล้อ หรือปรับแรงดันลมยางใหม่
4. คลัตซ์
คลัตซ์ที่มีปัญหา จะทำให้ควบคุมเกียร์ไม่ได้ อย่าละเลยอาการเหล่านี้
– คลัตซ์ลื่น หรือเข้าคลัตซ์ไม่สนิท หรือเหยียบแป้นคลัตซ์แล้ว แต่ยังเข้าเกียร์ได้ยาก
– คลัตซ์มีเสียงดัง เมื่อเหยียบแป้นคลัตซ์
– แป้นคลัตซ์สั่นขึ้น ๆ ลง ๆ ขณะกำลังขับ
ควรนำรถเข้าอู่ซ่อมช่วงล่าง หรือศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ
5. เกียร์
เกียร์จะทำหน้าที่เปลี่ยนแรงบิดของเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับความเร็ว
สัญญาณบอกเหตุว่าเกียร์มีปัญหาคือ
– มีเสียงดังทั้งในขณะอยู่ที่เกียร์ว่าง หรือเข้าเกียร์ใดเกียร์หนึ่งอยู่
– เปลี่ยนเกียร์ยาก มีอาการติดขัด หรือต้องขยับอยู่นาน
– มีเสียงดังขณะเข้าเกียร์ ทั้ง ๆ ที่เหยียบคลัตซ์แล้ว
– ห้องเกียร์มีน้ำมันหล่อลื่นไหลออกมา
ควรนำรถเข้าอู่ตรวจสอบห้องเกียร์
6. พวงมาลัย
พวงมาลัยที่มีปัญหาเหล่านี้ จะทำให้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ยางเฟืองท้ายชำรุดตามไปด้วย
– พวงมาลัยหนัก หรือต้องใช้แรงมากผิดปกติในการบังคับเลี้ยว
– พวงมาลัยหลวมเกินไป โดยมีระยะฟรีเกิน 1 นิ้ว
– พวงมาลัยสั่นในขณะขับ
ควรนำเข้าศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ
7. เบรก
ถ้าพบว่าเบรกมีอาการผิดปกติ ต้องรีบแก้ไขทันที เพราะเบรกชำรุดนำมาซึ่งอุบัติภัยได้ง่ายที่สุด
ยางเฟืองท้ายชำรุดตามไปด้วย
– เบรกลื่น หยุดรถไม่อยู่ แม้จะไม่ได้ลุยน้ำ
– เบรกแล้วรถปัดไปข้างใดข้างหนึ่ง
– แป้นเบรกยังจมลึกลงไปทั้ง ๆ ที่ถอนเท้าออกมาแล้ว
ควรนำรถเข้าอู่ซ่อมเบรกทันที
8. ไฟชาร์จ
ไฟชาร์จ ควรจะปรากฏขึ้นที่แผงหน้าปัดทุกครั้งที่เราสตาร์ทเครื่อง และเมื่อสตาร์ทติดแล้ว ครู่หนึ่งก็จะดับลง แต่ถ้าไฟชาร์จไม่สว่าง หรือสว่างแล้วไม่ยอมดับ อาจเกิดจากไดชาร์จผิดปกติหรือสาเหตุอื่น ๆ ก็ได้ ที่แน่ ๆ คือไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ รีบนำรถเข้าอู่ไดชาร์จหรือระบบไฟ
9. หลอดไฟ
หลอดไฟขาดบ่อย ๆ หรือต้องเติมน้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่บ่อยเกินไป แสดงว่าอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า “”เรกูเลเตอร์”” ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟให้เหมาะสมชำรุด ควรนำรถเข้าอู่ระบบไฟ เพื่อซ่อมเรกูเลเตอร์ หรือหากชำรุดก็อาจจะต้องเปลี่ยนใหม่
10. น้ำมันหล่อลื่น
ถ้าสัญญาณไฟเตือนระบบน้ำมันหล่อลื่นสว่างขึ้นในขณะขับขี่รถยนต์ หมายถึงว่า เครื่องยนต์กำลังทำงาน โดยปราศจากน้ำมันหล่อลื่น รีบนำรถไปยังอู่ที่ใกล้ที่สุดทันที
ถ้าอู่อยู่ไกล ให้เติมน้ำมันเครื่องใส่ลงในถังน้ำมันหล่อลื่นไปก่อนเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ถ้าเป็นสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่น้ำมันหล่อลื่นแห้ง ควรใช้รถลากไปอู่ซ่อม
Leave a Reply