วันสหประชาชาติ
วันสหประชาชาติ 24 ตุลาคม
องค์การสหประชาชาติ ( United Nations Organization ) เป็นองค์ระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อนำสันติภาพสู่โลก พยายามให้มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาได้อยู่รวมกันอยู่เสมอภาคและสงบสุข ใน พ.ศ. 2484 ผู้แทนประเทศต่างๆ ได้มาประชุมร่วมที่ราชวังเซนต์เจมส์ประเทศอังกฤษ เพื่อเจรจายุติสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเสนอให้จัดตั้งองค์การสันติภาพโลกใน วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2484 ประธานนาธิบดีรูสเวลต์แห่งสหรัฐอเมริกาได้แถลงการณ์นี้ร่วมกับนายกรัฐมนตรี เชอร์ชิลแห่งอังกฤษบนเรือเรือประจัญบานออกัสตา เรียกแถลงกราณ์นี้ว่ากฎบัตรแอตแลนติก เพื่อก่อตั้งองค์การสันติภาพและก่อให้เกิดการร่วมลงนามในปฎิญญาสหประชาชาติ ทำให้เกิดคำวสหประชาชาติได้แถลงกราณ์และลงนามกัน ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2485ในพ.ศ. 2486 ได้มีการประชุมที่กรุงมอสโค มีผู้แทนจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตและจีนได้ประกาศเจตจำนงร่วมกัน
ในการก่อตั้งองค์สหประชาชาติมีการประชุมที่คฤหาสน์ดัมบาร์ตันโอคส์ที่วอชิงตัน ดีซี ใน 14 สิงหาคม ถึง 7 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ระหว่างสหรัฐอเมริกา สหราช-อาณาจักร สหภาพโซเวียตและจีน ต่อมาใน 4-12 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2488 รูสเวลต์ สตาลินได้ประชุมกันที่ ยัลตา บนคาบสมุทรไครเมีย เพื่อตกลงกันในเรื่องสิทธิยับยั้งความปลอดภัย ตั้งแต่ 25 เมษายน ถึง 26 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ประเทศต่างๆจำนวนกว่า 50 ประเทศ ได้ร่วมประชุมกันที่ซานฟรานซิสโก เพื่อยกร่างกฎบัตรสหประชาชาติโดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 จึงถือว่า วันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันสหประชาชาติ
องค์การสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงนิวยอร์ก (New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา (The United State of America) ภาษาทางการที่ใช้มีอยู่ 6 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย จีน และภาษาอาหรับ
ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ ดำเนินมาเป็นขั้นตอนตามลำดับดังนี้
1. วันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1941 (พ.ศ.2484) ผู้แทนประเทศต่างๆ ได้มาประชุมร่วมที่พระราชวังเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ เพื่อเจรจายุติสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการลงนามในปฏิญญาลอนดอนระหว่างบรรดาผู้แทนรัฐบาลพลัดถิ่นในประเทศอังกฤษ และเสนอให้จัดตั้งองค์การสันติภาพโลก
2. วันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1941 (พ.ศ.2484) ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา ได้แถลงการณ์ร่วมกับนายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิล แห่งอังกฤษ บนเรือประจัญบานออกัสตา เรียกแถลงกราณ์นี้ว่า “กฎบัตรแอตแลนติก” เพื่อก่อตั้งองค์การสันติภาพ และก่อให้เกิดการร่วมลงนามในปฎิญญาสหประชาชาติ ทำให้เกิดคำว่า “สหประชาชาติ”
3. วันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1943 (พ.ศ.2486) ผู้แทนของจีน สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ได้ประชุมหารือ และลงนามในปฏิญญามอสโก
4. ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม ถึงวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1944 ผู้แทนของจีนสหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ได้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับร่างกฎบัตรลงประชามติที่ดัมบาร์ตัน โอ๊ค ชานเมืองกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
5. วันที่ 4-11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 (พ.ศ.2488) ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิล และจอมพลสตาลิน ร่วมประชุมกัน ณ เมืองยัลตา แหลมไครเมีย ในสหภาพโซเวียต เพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎบัตรของสหประชาชาติ โดยตกลงกันในเรื่องสิทธิยับยั้งความปลอดภัย
6. วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1945 (พ.ศ.2488) มีการประชุมที่เมืองซานฟรานซิโก ระหว่างประเทศต่างๆ จำนวน 50 ประเทศ เพื่อร่วมลงนามในกฎบัตรของสหประชาชาติ
7. วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 (พ.ศ.2488) กฎบัตรสหประชาชาติได้รับสัตยาบันจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต จีน และประเทศส่วนใหญ่ที่ลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ และกฎบัตรเริ่มมีผลบังคับใช้ ดังนั้น จึงได้มีการกำหนดให้วันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันสหประชาชาติ”
วัตถุประสงค์สำคัญของสหประชาชาติ
1. ดำรงสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวง
3. ร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มนุษยธรรม และส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ
4. เป็นศูนย์กลางประสานการดำเนินการของชาติทั้งปวง ที่จะให้บรรลุจุดหมายปลายทางร่วมกัน
องค์กรณ์ขององค์การสหประชาชาติ
องค์การสหประชาชาติ ได้จัดแบ่งการบริการออกเป็นองค์กรต่างๆ 6 องค์กร ดังนี้
สมัชชา(General Assembly)
คือ สมาชิกขององค์การสหประชาชาติทุกประเทศต้องเป็นสมาชิกสมัชชาด้วย สมัชชาจะจัดให้มีการประชุมสมัยสามัญในวันอังคารที่ 3 ของเดือนกันยายน และอาจมีประชุมสมัยพิเศษขึ้นตามโอกาสที่เหมาะสม ในการประชุมแต่ละครั้งประเทศสมาชิกมีสิทธิส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 คน แต่ละประเทศมีสิทธิ์ออกเสียงได้ประเทศละ 1 เสียง สมัชชาจะประกอบไปด้วยประธานสมัชชา 1 คน รองประธานจำนวน 17 คน โดยจะคัดเลือกจากทวีปยุโรป 3 คน อเมริกาใต้ 3 คน เอเชียและแอฟริกา 7 คน และประเทศที่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงจำนวน 5 คน (ถ้าประธานมาจากพื้นที่ใด รองประธานจากเขตนี้นต้องลดลงจำนวน 1 คน)
คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council)
หน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคง คือ การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถใช้กำลังทหารในการระงับข้อพิพาทกรณีนั้นได้ รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สอบสวนกรณีพิพาทหรือสาเหตุอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางด้านสันติภาพของโลก คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ มีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน และสมาชิกเลือกตั้งอีก 10 ประเทศ และอยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council)
มีหน้าที่ประสานงานให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม ระหว่างสมาชิกประเทศ มีสมาชิกจำนวน 54 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้ง ละ 3 ปี
คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council)
มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและดูแลการบริหารงานดินแดนที่อยู่ในภาวะ ทรัสตี สมาชิกและคณะมนตรีภาวะทรัสตีนี้ได้แก่ ประเทศที่ทำหน้าที่ปกครองดินแดนในภาวะทรัสตี สมาชิกประจำคณะมนตรีความมั่นคงและสมาชิกอื่น ๆ ที่เลือกตั้งโดยสมัชชา คณะมนตรีภาวะทรัสตีได้ดำเนินนโยบายที่จะให้ประเทศที่อยู่ในภาวะทรัสตีสามารถ ประกาศตนเป็นเอกราชได้และสามารถทำสำเร็จมาแล้วหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในทวีปแอฟริกา
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Intermational Court of Justice)
มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีพิพาททางกฎหมายระหว่างประเทศ และให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นๆ ในองค์การสหประชาชาติ เช่น ศาลโลก คณะมนตรีความมั่นคง สำนักงานของศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศตั้งอยู่ที่ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี โดยการคัดเลือกจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่ ร่วมกับคณะมนตรีความมั่นคง
สำนักงานเลขาธิการ (The Secretariat)
มีหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารและธุรการขององค์กรต่างๆ ในองค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีบทบาท สำคัญในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง และปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลก มีเลขาธิการเป็นผู้บริหารงาน อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 5 ปี โดยการแต่งตั้งจากมีประชุมสมัชชาใหญ่
สำนักเลขาธิการประกอบด้วยองค์กรย่อยดังต่อไปนี้
1 กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ United Nations Children’s Fund – UNICEF ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2489 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการรณรงค์ให้รัฐบาลและบุคคลทั่วไปตระหนักในสุขภาพความเป็นอยู่ และการเจริญเติบโตของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ รวมถึงสนับสนุนโครงการสำหรับเด็กทั่วโลกองค์การยูนิเซฟเคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2508
2 สถาบันฝึกอบรบและวิจัยของสหประชาชาติ United Nations Institute for Training and Reserch – UNITAR
3 โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ United Nations Development Programme – UNDP ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนประเทศที่กำลังพัฒนาให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
4 ดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ
5 ดำเนินการในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการลดของเสียและเศษขยะ รวมถึงการสนับสนุนพัฒนาการวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
6 พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการขจัดความยากจนให้หมดไป โดยการส่งเสริมทักษะทางวิชาชีพ
7 ที่ประชุมว่าด้วยการค้าและพัฒนาการแห่งสหประชาชาติ United Nations Conference on Trade and Development – UNCTAD
8 องค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ United Nations Industrial Development Organization – UNIDO ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในฐานะหน่วยงานหนึ่งในองค์การสหประชาชาติเพื่อเร่งรัดพัฒนาอุตสาหกรรม และได้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การพัฒนาฯ เมื่อปี พ.ศ. 2529
9 สำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ United Nations High Commissioner for Refugee – UNHCR ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ต้องลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่อยู่นอกประเทศ เนื่องจากเกิดความหวาดกลัวอย่างมีเหตุผลเพียงพอว่าจะถูกประหัตประหาร เพราะความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติของสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเพราะความคิดเห็นทางการเมือง เป็นผู้ซึ่งไม่อาจหรือไม่ยินดีรับความคุ้มครองจากประเทศนั้น ๆ ไม่ยินดีกลับไปเพราะกลัวจะถูกประหัตประหาร
10 ทบวงการบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ใน ตะวันออกใกล้ United Nations Relidf Works Agency for Palestine Refugees in the Near East – UNRWA
ประเทศไทยกับสหประชาชาติ
ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติลำดับที่ 55 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2489 หลังจากที่สหประชาชาติได้ก่อตั้งเพียง 1 ปี โดยนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น ได้ชี้แจงเหตุผลไว้ดังนี้
1. เพื่อความมั่นคงของไทย เนื่องจากสหประชาชาติเป็นองค์การมีกำลังมากที่สุดที่สามารถธำรงสันติภาพ และความมั่นคง และให้ควายุติธรรมสำหรับประเทศเล็ก ๆ อย่างไทย
2. เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเก่าแก่ชาติหนึ่ง เนื่องจากการที่เข้าเป็นสมาชิกขององค์การโลกเป็นการยืนยันรับรองฐานะของไทยอีกครั้งหนึ่ง
3. ไทยหวังความช่วยเหลือจากสหประชาชาติในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
4. เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ไทยประสงค์จะร่วมมือในการสร้างสันติภาพและความมั่นคงของโลกอย่างจริงจัง
บทบาทด้านการส่งเสริมสันติภาพและรักษาความมั่นคงระหว่างประเทศ
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเกิดกรณีปัญหากัมพูชา ประเทศไทยได้มีบทบาทนำอย่างแข็งขันร่วมกับอาเซียนในการแก้ไขปัญหาในประเทศเพื่อนบ้านโดยดำเนินการผ่านเวทีสหประชาชาติ ต่อมาหลังจากสหประชาชาติได้ปรับบทบาทให้สอดคล้องกับ
บรรยากาศทางการเมืองระหว่างประเทศหลังจากการยุติของสงครามเย็น ประเทศไทยได้เพิ่มบทบาทในด้านการเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าสหประชาชาติเป็นเสมือนตัวแทนประชาคมโลก ดังนั้นการให้สหประชาชาติดูแลรักษาสันติภาพและความมั่นคงจึงเป็นประโยชน์แก่ประเทศที่มีกำลังทางทหารขนาดเล็กอย่างไทยมากกว่าที่จะให้ประเทศใดประเทศหนึ่งใช้กำลังฝ่ายเดียวเพื่อยุติข้อขัดแย้ง นอกจากนี้ ในฐานะประเทศสมาชิกที่ดีของสหประชาชาติไทยได้พยายามให้การสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติเท่าที่สถานภาพและกำลังทรัพย์จะเอื้ออำนวย
กิจกรรมในวันสหประชาชาติ
– นิทรรศการเผยแพร่ผลงาน และการทำงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ
– ประดับธงของสหประชาชาติในสถานที่ต่างๆ