คอมพิวเตอร์ในฝันของหลายๆ
คนตอนนี้คือเครื่องที่ใช้ซีพียูความเร็วสูงระดับ 2.0 GHz ขึ้นไป ทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผล
GeForce4 Fx5800 และใช้พาวเวอร์ซัพพลายที่สามารถจ่ายพลังงานได้มากถึง 430
วัตต์ เพื่อรองรับการทำงานของไดร์คอมโบความเร็วสูงและการฮาร์ดดิสถ์ความเร็ว
7200 รอบต่อนาที จำนวนสองตัวที่ทำงานแบบ RAID ด้วยลองคิดดูสิว่าเมื่อเครื่องนี้ทำงานจะมีเสียงดังมากขนาดไหน
ด้วยอากาศในบ้านเราที่สูงกว่า 30 องศาเซลเซียส การใช้ซีพียูความเร็วสูงเช่นนี้จะต้องใช้ชุดระบายความร้อนที่มีพัดลมแรงๆ
ยิ่งไปกว่านั้น แหล่งเสียงที่ดังรบกวนไม่ได้มาจากชุดระบายความร้อนซีพียูเท่านั้น
ยังมีอีกหลายๆ จุด ซึ่งบางจุดคุณแทบจะแก้ไขไม่ได้เลย
จุดที่หนึ่ง พัดลมระบายความร้อนซีพียู
ด้วยความเร็วซีพียูที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน
ชุดระบายความร้อนซีพียูที่ทำด้วยทองแดงกับพัดลมความเร็ว 7000 รอบต่อนาทีจึงถูกนำมาใช้จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป
แต่จริงๆ แล้วไม่จำเป็นที่พัดลมจะต้องมีความเร็วขนาดนี้ เพราะหลังจากที่ทำงานไปแล้วประมาณครึ่งชั่วโมง
หากอุณหภูมิของซีพียูยังไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส คุณก็สามารถแก้ไขให้พัดลมมีระดับเสียงที่เบาลงได้
วิธีแรกเริ่มต้อนด้วยการเปลี่ยนไปใช้พัดลมที่มีความเร็วต่ำลงหรืออาจจ่ายไฟให้พัดลมต่ำลงเพียง
7 โวลต์ด้วยการใช้ตัวแปลงไฟ จากนั้นให้ตรวจสอบดูอุณหภูมิอีกครั้งว่ายังอยู่ในเกณฑ์คือต่ำกว่า
65 องศาเซลเซียส บางครั้งเสียงของพัดลมที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากความเร็วในการหมุนเสมอไป
แต่มาจากวัสดุที่มีคุณภาพไม่ดีพอ ถ้าเป็นกรณีนี้ขอแนะนำให้เปลี่ยนพัดลมตัวใหม่หรือหากพื้นที่รอบๆ
ซีพียูมีมากพอ ให้เปลี่ยนไปใช้พัดลมขนาด 80 มิลลิเมตรแทนตัวเดิมที่เป็น 60
มิลลิเมตรเพื่อให้เสียงเงียบลงในขณะที่อัตราการระบายอากาศยังเท่าเดิม แต่วิธีการนี้คุณจะต้องใช้ตัวแปลงเข้ามาช่วย
จุดที่สอง การ์ดแสดงผล
ชุดระบายความร้อนบนการ์ดแสดงผลเป็นอีกหนึ่งจุดที่ชอบส่งเสียงรำคาญใจ
แต่หากการ์ดที่คุณใช้มีเพียงฮีตซิงก็เพียงอย่างเดียวในการระบายความร้อนให้กับชิปกราฟฟิกคุณสามารถข้ามหัวข้อนี้ไปได้เลย
เพราะนั่นคือชุดระบาความร้อนที่ทำงานได้เงียบที่สุดแล้วในกรณีที่คุณใช้การ์ดสามมิติความเร็วสูงอย่าง
GeForce3 หรือ GeForce4 Ti ตลอดจนการ์ด Radeon 8500 และ 9700 คุณจำเป็นจะต้องมีพัดลมระบายความร้อนด้วย
แต่เนื่องจากพื้นที่ข้างการ์ดมีจำกัด การแก้ปัญหาจึงค่อนข้างลำบากและจำเป็นต้องใช้พัดลมที่มีขนาดเล็กและแบนซึ่งมีเสียงดังต่อไป
แต่สำหรับการ์ดแสดงผลที่ใช้ชิปกราฟฟิกรุ่นรองบงไปจะมีโอกาสลดระดับเสียงลงได้มากกว่า
ด้วยความเร็วที่ต่ำกว่าคุณสามารถเปลี่ยนไปใช้ชุดระบายความร้อนที่มีเฉพาะฮีตซิงก์แทนได้
แต่ต้องเลือกฮีตซิงก์ที่มีคุณภาพดีเท่านั้นจึงจะทำให้ไม่มีปัญหาในการทำงาน
จุดที่สาม ชิปเซ็ตบนเมนบอร์ด
ด้วยการออกแบบเมนบอร์ดไว้รองรับการโอเวอร์คล็อก
เมนบอร์ดแบบซ็อกเก็ตเอจึงมักจะติดตั้งพัดลมระบายความร้อนให้กับชิป North
Bridge ด้วย พัดลมนี้แม้ว่าจะมีขนาดเล็กแต่มีเสียงดังเกินตัว หากคุณไม่ได้ทำการปรับแต่งความเร็วบัสหรือทำการโอเวอร์คล็อกใดๆ
ให้คุณถอดชุดระบายความร้อนตัวจ้อยนี้ออกแล้วแทนด้วยฮีตซิงก์คุณภาพดีๆ ที่ใช้กับเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะดีกว่า
จุดที่สี่ พัดลมระบายอากาศของเคส
เป็นอีกจุดหนึ่งที่หูคุณจะรับรู้ได้ถึงเสียงที่เกิดขึ้นจากการทำงานโดยปกติพัดลมของเคส จะถูกติดตั้งมาอย่างน้อยหนึ่งหรือสองจุดโดยมีหลักการระบายอากาศภายในเคสว่า ใช้อากาศเย็นภายนอกไล่อากาศร้อนภายใน ด้วยการใช้พัดลมตัวหนึ่งซึ่งจะอยู่ด้านหน้าส่วนล่างของเคส ทำหน้าที่ดูดอากาศเย็นเข้าไป
ส่วนพัดลมอีกตัวหนึ่งที่อยู่ด้านหลัง ส่วนบนของเคสทำหน้าที่ดูดอากาศร้อนภายในเคสออกไปด้านนอก
เพื่อให้เกิดการระบายอากาศที่ดี พัดลมทั้งสองจึงมักจะหมุนด้วยความเร็ว แต่จริงๆ
แล้วไม่ได้จำเป็นเสมอไป เพราะหากคุณจัดระเบียบของสายไฟ สายแพ หรืออุปกรณ์ภายในเคสได้เรียบร้อยก็สามารถใช้พัดลมที่มีความเร็วรอบไม่สูงจนเกินไป
ซึ่งจะช่วยลดระดับเสียงที่เกิดขึ้น ด้วยอุณหภูมิภายในเคสจะสูงกว่าอุณหภูมิห้องประมาณ
10 องศาเซลเซียสและต่ำกว่าอุณหภูมิของซีพียูประมาณ 15-20 องศาเซลเซียส และคุณไม่ควรติดตั้งแผ่นกันเสียงไว้ภายในเคส
เพราะจริงๆ แล้วแผ่นกันเสียงนี้ไม่ได้กันเสียงที่เกิดขึ้นแต่ประการใดเพียงแค่ดูดซับคลื่นความถึ่สูงเข้าไว้เท่านั้น
ดังนั้นเสียงยังคงมีอยู่เท่าเดิม เพียงแต่ฟังแล้วรู้สึกทุ้มขึ้นเท่านั้นเอง
จุดที่ห้า พาวเวอร์ซัพพลาย
เสียงที่เกิดขึ้น
ณ จุดนี้ก็เช่นเดียวกับเสียงจากการทำงานของพัดลมระบายอากาศซึ่งไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ง่ายดายเหมือนกับพัดลมระบายอากาศของเคส
ยกเว้นแต่คุณมีความสามารถทางช่างอิเล็กทรอนิกส์พอสมควร แต่คุณก็ยังต้องยอมรับว่าการรับประกันต่างๆ
จะต้องหมดไปด้วย ซึ่งหากคุณกังวลในเรื่องนี้ วิธีเดียวที่คุณจะลดระดับเสียงของพัดลมระบายอากาศก็คือการเปลี่ยนไปใช้พาวเวอร์ซัพพลายรุ่นที่มีพัดลมระบายอากาศที่เงียบกว่าเท่านั้นเอง
จุดที่หก อาร์ดดิสก์
ด้วยความรวดเร็วในการทำงาน
อาร์ดดิสก์ที่ใช้ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะมีความเร็ว 7200 รอบต่อนาที ผลที่ตามมาก็คือระดับเสียงในการทำงานที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตามคุณสามารถแก้ไขได้ด้วยการนำฮาร์ดดิสก์มาติดตั้งในคอนโซลชนิดที่แยกออกมาจากเครื่องซึ่งจะทำให้ระดับเสียงลดลงได้มาก
หรือไม่เช่นนั้นก็เปลี่ยนไปใช้ฮาร์ดดิสก์รุ่นที่มีระดับเสียงการทำงานต่ำกว่าแทน
สำหรับอีกวิธีหนึ่งคือใช้โปรแกรมเข้าช่วย เช่น IBM Feature Tool 1.5 หรือ
Intel Application Accelerator 2.2 เพื่อลดอัตราความเร็วในการเคลื่อนที่ของหัวอ่านฮาร์ดดิสก์
จะช่วยทำให้ระดับเสียงนั้นเบาลงไปได้บ้าง แต่คุณจะต้องแลกมาด้วยอัตราการอ่านข้อมูลที่ช้าลงไปกว่าเดิม
จุดที่เจ็ด ไดรฟ์ออปติคอล (CD ROM ,DVD ROM
,CD RW ฯลฯ)
วิธีแก้ไขคือให้คุณใช้โปรแกรมยูทิลิตี้เพื่อลดความเร็วที่เกินจำเป็นนั้นลง
หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องเปลี่ยนไปใช้ไดรฟ์รุ่นที่มีความเร็วต่ำกว่าหรือรุ่นที่มีระดับเสียงในการทำงานน้อยลง
อย่างไรก็ตาม
หากไม่ใช้พัดลมระบายอากาศเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเงียบลง ก็จะต้องหมั้นสังเกตความร้อนที่เกิดขึ้นเสมอ
คุณอาจจะต้องเปิดฝาเคสที่ควรมีขนาดใหญ่สักหน่อยไว้ตลอดเพื่อให้อากาศภายนอกช่วยระบายความภายในเครื่อง
เพราะแม้แต่ซีพียู Pentium III ที่หลายคนใช้จะสามารถทำงานที่อุณหภูมิสูงขนาดนั้น
หรือหากต้องการความชัวร์คุณอาจลดแรงดันไฟซีพียูจาก 1.5 โวลต์ให้เหลือเพียง
1.4 โวลต์ก็ได้ จะทำให้ซีพียูเย็นลงได้อีกระดับหนึ่ง เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีข้างต้นคุณอาจจะตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะคุณแทบจะไม่ได้ยินเสียงจากการทำงานเลย
ยกเว้นเสียงแผ่วๆ จากฮาร์ดดิสก์และมอเตอร์ของไดรฟ์ซีดีตอนโหลดข้อมูลเท่านั้น
ซึ่งต้องยอมรับว่าคุณคงไม่สามารถกำจัดเสียงในการทำงานเหล่านี้ได้ทั้งหมด |