มหาวิหารอาเคินมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เพราะเคยใช้เป็นสถานที่สวม มงกุฏกษัตริย์ราชวงค์คาโรลิงเกียน
มหาวิหารอาเคิน
มรดกโลก อาเคิน (Aachen) เป็นเมืองที่อยู่ด้านตะวันตกสุดของประเทศเยอรมนี ติดกับพรมแดนประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม อยู่ห่างจากเมืองโคโลญมาทางตะวันตก 65 กิโลเมตร เมืองอาเคินยังเป็นที่ตั้งของมหาวิหารอาเคิน (เยอรมัน: Aachener Dom) อันเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน นับเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวของเมือง มหาวิหารแห่งอาเคินนี้ถูกจัดเป็นมรดกโลกของยูเนสโก มหาวิหารนี้เป็นโบสถ์แบบกอธิคผสมกับกาโล-โรมัน ซึ่งได้รับอนุญาตจากพระสันตปาปาแห่งกรุงโรมให้สร้างโบสถ์นี้ในปี ค.ศ. 786 และสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 805 โดมนี้ถูกใช้เป็นสถานที่แต่งตั้งกษัตริย์ของเยอรมนีในสมัยก่อนมาแล้วหลายพระองค์ อีกทั้งยังมีหีบศพทองคำของพระเจ้าชาร์เลอมาญ (เยอรมัน: Karl) อยู่ด้วย ที่ลานกว้างหน้าโดมนี้ จะถูกใช้เป็นที่รับรางวัลคาร์ล (Internationaler Karlspreis zu Aachen ย่อว่า Karlspreis ; อังกฤษ: International Charlemagne Prize of the city of Aachen) ในทุก ๆ ปี รางวัลคาร์ลนี้จะมอบให้กับผู้ที่ส่งเสริมสันติภาพในยุโรป ตัวอย่างของบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ได้รับรางวัลคาร์ลได้แก่ บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และ โทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
มหาวิหารอาเคิน เรียกกันว่ามหาวิหารหลวง (Imperial Cathedral (ภาษาเยอรมัน: Kaiserdom)) ในนิกายโรมันคาทอลิกอยู่ที่เมืองอาเคิน ประเทศเยอรมนี วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดทางภาคเหนือของทวีปยุโรป ระหว่างยุคกลางวัด นี้ชื่อ Royal Church of St. Mary at Aachen เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เพราะเคยใช้เป็นสถานที่สวม มงกุฏกษัตริย์ราชวงค์คาโรลิงเกียน (Carolingian) ระหว่างปี ค.ศ. 936 (พ.ศ. 1479) ถึงปี ค.ศ. 1531 (พ.ศ. 2074) ประมาณ 600 ปี วัดนี้ใช้เป็นที่สวมมงกุฏให้กษัตริย์เยอรมนี 30 พระองค์ และพระราชินีอีก 12 พระองค์
ประวัติ วัดนี้เริ่มสร้างเมื่อปีค.ศ. 792 พร้อมๆกับตัววัง โดยพระเจ้าชาร์เลอมาญ พอเสร็จสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ก็ทำพิธีสถาปนาวัดนี้อย่างเป็นทางการ เมื่อปี ค.ศ. 805 (พ.ศ. 1348) ขนาดตัววัดจริงๆ แต่เดิมนั้นค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบขนาดส่วนที่ต่อเติมที่มาทำภายหลัง ระหว่างสมัยกอธิคทางวัดก็ขยายด้าน บริเวณร้องเพลงสวด เพื่อให้มีเนื้อที่พอที่จะรับนักแสวงบุญที่มาแสวงบุญที่เมืองนี้ ส่วนที่ขยายทำพิธีสถาปนาเมื่อครบรอบ 600 ปีหลังจากที่พระเจ้าชาร์เลอมาญสวรรคต
สิ่งที่มีค่าที่น่าสนใจของวัดนี้ก็มี กางเขนโลแธร์ (Cross of Lothair) รูปปั้นครึ่งตัวของพระเจ้าชาร์เลอมาญ และ บัลลังก์พระเจ้าชาร์เลอมาญ โลงหินเพอซิโฟนี (Persephone sarcophagus) ซึ่งถือว่าเป็นสมบัติทางศาสนาอันมีค่าที่สุดชิ้นหนึ่งของศาสนาคริสต์ทางทวีปยุโรปตอนเหนือ
เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญสวรรคต เมื่อปี ค.ศ. 814 (พ.ศ. 1357) ร่างของพระองค์ก็ถูกฝังไว้ในว้อลท์ (vault) ที่ มหาวิหารอาเคิน พอถึงปี 1000 พระเจ้าอ็อตโตที่สาม (Otto III) ก็เปิดที่ฝังพระศพพระเจ้าชาร์เลอมาญ ข้าราชสำนักอ็อตโตแห่งโลเมลโล (Otto of Lomello) ผู้ติดตามพระเจ้าอ็อตโตเข้าไป บันทึกไว้ว่าเมื่อเปิดที่ฝังเข้าไปแทนที่จะเห็นพระเจ้าชาร์เลอมาญนอนอยู่ กลับเห็นพระองค์ใส่มงกุฎถือคทานั่งอยู่ภายใต้ซุ้มหิน (canopy) เล็บยาวทะลุถุงมือ ร่างกายไม่เน่าเปื่อยนอกจากตรงปลายพระนาสิก พระเจ้าอ็อตโตจึงทรงเสริมให้ด้วยทอง แล้วก็ปิดหลุมหลังจากที่ถอนพระทนต์มาหนึ่งซี่
เมื่อปี ค.ศ. 1165 (พ.ศ. 1708) พระเจ้าฟรีดริชที่ 1หรือ ฟรีดริช บาร์บารอสซา เปิดที่ที่ฝังพระเจ้าชาร์เลอมาญอีกครั้ง แทนที่จะพบพระเจ้าชาร์เลอมาญนั่งตามบันทึกของอ็อตโตแห่งโลเมลโล กลับพบว่าร่างของพระองค์อยู่ในโลงหิน[1] ครั้งนี้พระเจ้าเฟรตเดอริคจึงให้เอาร่างของพระเจ้าชาร์เลอมาญใส่โลงหินที่ทำจากหินอ่อนจากเปอร์เซีย ซื่งเชื่อกันว่าเป็นโลงที่ใช้ฝังออกัสตุส ซีซาร์ พอถึงปี ค.ศ. 1215 (พ.ศ. 1758) พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ก็ย้ายพระศพใส่หีบใหม่ที่ทำจากเงินและทอง
เพราะความสำคัญของเมืองอาเคิน ทำให้เมืองนี้ได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเป็นสถานที่แรกของประเทศเยอรมนีที่ได้ขึ้นทะเบียน
ข้อมูลรูปภาพร้านอาหาร เอื้อเฟื้อโดย www.aroys.com ศูนย์รวมอาหารในประเทศไทยบนอินเตอร์เน็ต
|