ยะมัมหะ
โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ
มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
สัตเตสุ การุญญัง ปฏิจจะ กรุณายะโก, หิเตสี อะนุกัมปัง อุปาทายะ,
อาสาฬหะปุณณะมิยัง พาราณะสิยัง, อิสิปะตะเน มิคะทาเย, ปัญจะวัคคิยานัง
ภิกขูนัง, อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะฐะมัง ปะวัตเตตะวา, จัตตาริ
อะริยะสัจจานิ ปะกาเสสิ ฯ ตัสมิญจะ โข สะมะเย, ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง
ปะมุโข, อายัสมา อัญญาโกณฑัญโญ, ภะคะวะโต ธัมมัง สุตะวา, วิระชัง
วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง ปะฏิละภิตะวา, ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง, สัพพันตัง
นิโรธะธัมมันติ, ภะคะวันตัง อุปะสัมสะทัง ยาจิตวา ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย
อะริยะสาวะกะสังโฆ โลโก ปะฐะนัง อะโหสิ พุทธะระตะนังธัมมะระตะนัง
สังฆะระตะนัง สังฆะระคะนันติ ติระตะนัง สัมปุณณัง อะโหสิฯ มะยัง
โข ตะระหิ อิมัง อาสาฬหะปุณณะมีกาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะกาละสัมมะตัง
อะริยะสาวะกะสังฆะอุปปัตติกาละสัมมะตัญจะ ระตะนัตตะยะสัมปุณณะกาละสัมมะตัญญจะ
ปัตวา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา อิเม สักกาเร คะเหตวา อัตตะโน กายัง
สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา
อิมัง ถูปัง (อิมัง พุทธะปะฏิมัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ
ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานาฯ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจจิระปะรินิพพุโตปิ
ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเค
สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ
คำแปล
เราทั้งหลายถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคพระองค์ใดแล้ว
ว่าเป็นที่พึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย
อนึ่ง เราทั้งหลายชอบใจซึ่งพระธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ทรงอาศัยความการุณ ในสัตว์ทั้งหลาย
ทรงพระกรุณาแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ทรงอาศัย ความเอ็นดู ได้ยังพระธรรม
จักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป ทรงประกาศอริยสัจ ๔ เป็นครั้งแรกแก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสีในวันอาสาฬหปุณณมี อนึ่ง
ในสมัยนั้นแล ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้เป็นหัวหน้าของพระภิกษุปัญจวัคคีย์ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ได้ธรรมจักษุอันบริสุทธิ์ปราศจากมลทินว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งทั้งปวงนั้น มีความดับเป็นธรรมดา" จึงทูลขออุปสมบท กะพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นองค์แรกในโลก อนึ่ง ในสมัยนั้นแลพระสังฆรัตนะได้บังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกพระรัตนตรัย
คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะและพระสังฆรัตนะ ได้สมบูรณ์แล้วในโลก
บัดนี้ เราทั้งหลาายแล มาประจวบมงคลสมัยอาสาฬหะปุณณมี วันเพ็ญอาสาฬหมาส
ที่รู้พร้อมกันว่า เป็นวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร
เป็นวันที่เกิดขึ้นแห่งพระอริยสงฆ์สาวก และเป็นวันที่ประรัตนตรัยสมบูรณ์ด
คือ ครบ ๓ รัตนะ จึงมา ประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้ ถือสักการะเหล่านี้
ทำกายของตนให้เป็นดังภาชนะรับเครื่องสักการะ ระลึกถึงพระคุณตาม ความเป็นจริงทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
จจักทำประทักษิณสิ้นวาระสามรอบซึ่งพระสถูป (พระพุทธปฏิมา) นี้ บูชาอยู่ด้วยสักการะอันถือไว้แล้วอย่างไร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เสด็จปรินิพพานนานมาแล้ว
ยังปรากฎอยู่ด้วยพระคุณสมบัติอันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพึงรู้โดยความเป็นอตีตารมณ์
จงทรงรับเครื่องสักการะ อันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถือไว้แล้วนี้
เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน
เทอญ |
|