ประวัติความเป็นมา |
วันที่ 24 กันยายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
|
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานด้านวัฒนธรรมของประเทศ
สมาชิกต่าง ๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก
ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไป ประจำทุกปี วัตถุประสงค์โดยสรุป
1. เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณ และผลงานของผู้มีผลงานดีเด่น ทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก
ให้ปรากฏแก่มวลสมาชิกทั่วโลก
2. เพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับ
ประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่อมเชิดชูเกียรติ
ในการนี้รัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม
เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศ ยกย่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก
ในวาระครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 |
|
ประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก |
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๓๔ และสวรรคตเมื่อวัน
ที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๗๒ การศึกษาในเบื้องต้น ได้ทรงศึกษาวิชาทหารเรือ
ณ ประเทศเยอรมัน จากนั้นเสด็จกลับเข้ามารับราชการในกองทัพเรือ ต่อมาทรงมีอาการประชวรเรื้อรัง
ไม่ทรงสามารถรับราชการหนัก เช่นการทหารเรือได้ ประกอบกับทรงสนพระทัยในกิจการทางด้านการแพทย์
จึงทรงพระอุตสาหะเสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข และปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
เกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกสวรรคตเมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒
ด้วยความระลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ผู้ที่ได้รับทุนของพระองค์ไปศึกษา
ณ ต่างประเทศ ผู้ที่เคยได้รับพระมหากรุณาในประการอื่นๆ จึงได้รวบรวมเงินจัดสร้างพระรูปประดิษฐานไว้
ณ โรงพยาบาลศิริราช โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง และมีศาสตราจารย์ศิลป
พีรพศรี เป็นผู้ควบคุมงาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่
๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ |
|
วันรำลึก "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" |
วันที่
24 กันยายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า
"พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" คณะแพทยศาสตร์สิริราชพยาบาลได้ขนานนาม
วันอันเป็นที่ระลึกสำคัญนี้ว่า "วันมหิดล" เพื่อเป้ฯการถวายสักการะ
และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อ
พระองค์ท่าน เพราะพระราชกรณียกิจที่ได้รทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุข
ของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้นได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์
และพัฉนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นการ
วางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ
ในกาลต่อมา |
|
พระราชกรณียกิจที่เด่นๆ |
จำแนกเป็นข้อใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. ทรงส่งบุคคลไปศึกษาวิชาต่างประเทศด้วยทุนส่วนพระองค์ พระราชทานทุนการศึกษา
ให้มหาวิทยาลัยเพื่อเก็บดอกผลส่งคนไปศึกษาต่างประเทศ เรียกว่าว "ทุนวิทยาศาสตร์แห่งแพทย์"
2. พระราชทานทุนเพื่อค้นคว้า
และการสอนในโรงพยาบาลศิราราชซึ่งนับว่าเป็นทุนแรกของทุน
ประเภทนี้ในประเทศไทย
3. ทรงเป็นผู้แทนของรัฐบาลทำการติดต่อมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ให้ช่วยเหลือปรับปรุงการ
ศึกษาแพทย์และพยาบาลให้ได้มาตรฐานสากล
4. พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราชอันรวมทั้ง
ที่ดินและอาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่เรียน หอผู้ป่วย และหอพักนักศึกษาแพทย์และพยาบาล
ติดต่อกันเป็นระยะเวลา ไม่ต่ำกว่า 10 ปี ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ที่พระราชทานเพื่อประโยชน์
ของการแพทย์ด้วยประการตาง ๆ รวมทั้งที่มอบไว้เป็นมาดกอีกจำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการ
ให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่างประเทศทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินประมาณหนึ่งล้านสี่แสนบาท |
|
น้อมเกล้าถวายความกตัญญูกตเวที |
ในปี
พ.ศ. 2493, 21 ปี หลังจากที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ได้เสด็จสวรรคต คณะแพทยศาสตรืศิริราชพยาบาล บรรดาศิษย์เก่าศิริราช
ตลอดจนประชาชนผู้สนใจ
ทั่วไปได้ร่วมใจกันส้างพระราชานุสาวรีย์ขึ้น ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช
เพื่อน้อนเกล้าถวาย
ความกตัญญูกตเวทีและเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณให้ไพศาลเป็นแบบฉบับให้อนุชนรุ่งหลังได้จำเริญ
ตามรอยพระยุคลบาทสืบไป โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธี
เปิดพระราชนุสาวรีย์เมื่อวันที 24 เมษายน พ.ศ. 2493 พระราชานุสาวรีย์นี้ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติม
ครั้งแรกเมื่อปี 2517 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยสร้างรากฐาน
และบริเวณโดยรอบทั้งหมดเพื่อให้ถาวร สง่างามและสมพระเกียรติยิ่งขึ้น
ดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา ทุกวันที 24 กันยายน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ได้จัดงาน "วันมหิดล" ขึ้นเป็นประจำ |
|