ประกันสุขภาพ คืออะไร?ประกันสุขภาพ คือ การประกันภัยประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงที่จะชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ให้แก่ผู้เอาประกันภัย สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรืออุบัติเหตุก็ตามการประกันสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ การประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพหมู่ กับ การประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพรายบุคคล ทั้ง 2 ประเภทให้ความคุ้มครองที่เหมือนกัน โดยแบ่งความคุ้มครองหลักออกเป็น 7 หมวด ได้แก่1. การอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล ให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันภัย ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ในฐานะคนไข้ในติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง เนื่องจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือป่วยไข้ โดยจะชดเชยค่าใช้จ่ายอันเกิดจาก - ค่าห้องและค่าอาหาร - ค่าบริการทั่วไป - ค่าใช้จ่ายกรณีมีการรักษาพยาบาลฉุกเฉินเพราะการบาดเจ็บภายใน 24 ชั่วโมง หลังการเกิดอุบัติเหตุ 2. การรักษาพยาบาลโดยการผ่าตัด ให้ความคุ้มครองโดยการชดเชยค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการผ่าตัด และค่าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด 3. การดูแลโดยแพทย์ ให้ความคุ้มครองโดยการชดเชยค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการให้แพทย์มาดูแล 4. การรักษาพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล ให้ความคุ้มครองโดยการชดเชยค่าใช้จ่าย สำหรับการรักษาที่คลีนิค หรือ แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล 5. การคลอดบุตร ให้ความคุ้มครองโดยการชดเชยค่าใช้จ่าย ในระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อการคลอดบุตร 6. การรักษาฟันแบบจำกัด ให้ความคุ้มครองโดยการชดเชยค่าใช้จ่ายสำหรับค่ารักษาพยาบาล และค่าบริการโดยทันตแพทย์ 7. การดูแลโดยพยาบาลพิเศษ ให้ความคุ้มครองโดยการชดเชยค่าใช้จ่าย อันเกิดจากการบริการ โดยพยาบาลพิเศษขณะอยู่ในโรงพยาบาล หรือที่บ้านภายหลังจากการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ การกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับ1. อายุ บุคคลทั่วไปเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพได้มากขึ้น และต้องใช้เวลาในการพักรักษาตัวนานกว่าบุคคลที่มีอายุน้อยกว่า2. เพศ ความเสี่ยงภัยอาจจะไม่แตกต่างจากกันมากนัก แต่โดยปกติแล้ว เพศหญิงจะใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าเพศชาย 3. สุขภาพ บุคคลที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ โอกาสที่จะได้รับการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยร้ายแรงย่อมเป็นไปได้น้อยกว่าบุคคลที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอ หรือมีประวัติการเจ็บป่วยร้ายแรงมาก่อน 4. อาชีพ แสดงถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันซึ่งจะนำไปสู่ความเสี่ยงภัย หรือแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย 5. การดำเนินชีวิต แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพ หรืออุบัติเหตุของบุคคล 5. สำหรับการประกันภัยหมู่ จะต้องมีการพิจารณาถึงจำนวนบุคคลที่จะเอาประกันภัยด้วย ถ้าจำนวนบุคคลมาก การกระจายความเสี่ยงจะมีมากกว่า อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำลง กรณีใดบ้างที่บริษัทมีสิทธิปฏิเสธการรับประกันในการให้ความคุ้มครอง จะไม่คุ้มครอง โรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันภัย หากผู้ขอเอาประกันภัยมีสุขภาพไม่แข็งแรง หรือมีโรคประจำตัวหลายอย่าง บริษัทอาจจะพิจารณารับประกันภัย ด้วยเบี้ยประกันภัยที่สูงกว่าคนปกติ หรืออาจจะไม่รับประกันภัยเลยก็ได้ ในกรณีที่ผู้ขอเอาประกันภัย เจ็บป่วยด้วยโรคที่รุนแรง เช่น เอดส์ มะเร็ง บริษัทมักจะไม่รับประกันภัย และถึงแม้บริษัทจะรับประกันภัย อัตราเบี้ยประกันภัยจะสูงมาก และผู้เอาประกันภัยก็จะไม่ได้รับการคุ้มครองใด ๆ หากเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว หรือสืบเนื่องจากโรคดังกล่าวหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนยึดหลักเกณฑ์เดียวกับการประกันภัยประเภทอื่นๆ คือ จ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ ข้อยกเว้นความคุ้มครองไม่คุ้มครองการเข้าพักรักษาตัว ซึ่งมิได้เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บ หรือป่วยไข้ เช่น การทำหมัน การทำศัลยกรรม การลดความอ้วน การพักผ่อน รวมทั้งการรักษาโรคประสาท กามโรค การติดสิ่งเสพติด และการตรวจสายตา |
:: อ่านข่าว |
|
:: รวมของฟรี |
|
เล่นเกมส์ l กลอน l ดูดวง l แชท l ฟังวิทยุออนไลน์ l อาหาร l ดูทีวีออนไลน์ l เรื่องตลก l เรื่องผี l หาเพื่อน l วันสำคัญ l อีการ์ด l ทำนายฝัน l ท่องเที่ยว l รถยนต์ |
:: ซาบซ่าส์ |
:: ลิงค์แนะนำ |
|
||||||||