Capsaicin ในพริกขี้หนู ซึ่งทำให้เกิดความเผ็ดร้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางยา
ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
รศ.สุพีชา วิทยเลิศปัญญา
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาวิจัยเรื่อง
"เภสัชจลนศาสตร์ของสารแคปไซซินในพริกขี้หนูสด
และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพริกขี้หนูสดต่อน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดี"
เพื่อพิสูจน์สรรพคุณของสารแคปไซซินว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้หรือไม่
"แคปไซซินพบมากที่สุดบริเวณรกของพริกขี้หนู
วิธีการวิจัยระยะแรกจะศึกษานำร่องในอาสาสมัครจำนวน 2 ราย
เพื่อพิสูจน์ปริมาณที่เหมาะสมของสารตัวนี้ที่มีผลทำให้ระดับน้ำตาลลดลง
โดยใช้พริกขี้หนูขนาด 5 กรัม พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงชัดเจน
จากนั้นทดลองในอาสาสมัครจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 12
ราย อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งรับประทานพริกขี้หนูบรรจุในแคปซูลพร้อมกับน้ำตาลความเข้มข้น
สูง อาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งรับประทานแคปซูลเปล่า
เพื่อเปรียบเทียบผลแล้วจึงวัดระดับน้ำตาลในเลือดทุก 15 นาที
ตั้งแต่เริ่มทานยาเป็นเวลา 2 ชั่วโมง
ปรากฏว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัดในนาทีที่
30 เป็นต้นไป
กลุ่มที่รับประทานพริกขี้หนูสดมีระดับน้ำตาลลดลงมากกว่ากลุ่มที่รับประทานแคปซูลเปล่า
และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
นอกจากนี้
จากการวิจัยโดยให้กลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานแคปซูลเปล่ามารับประทานพริกขี้ หนูสด
และเจาะเลือดวัดระดับอินซูลิน รวมทั้งวัดระดับ Capsaicin ใน
เลือดของอาสาสมัครกลุ่มที่รับประทานพริกขี้หนูสดที่บรรจุในแคปซูล
ผลปรากฏว่าระดับอินซูลินในกลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานพริกขี้หนูสดอยู่ใน ระดับคงที่
ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานพริกขี้หนูสดมีระดับอินซูลินลดลง
แสดงให้เห็นว่า Capsaicin จาก
พริกขี้หนูสดสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ ผลการวิจัยสรุปได้ว่าพริกขี้หนูสดขนาด 5
กรัมมีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินได้
ผลที่ได้น่าจะมาจากการที่ Capsaicin
เข้าสู่ร่างกายและออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินนั่นเอง
รศ.สุพีชา กล่าวเสริมว่า นอกจากพริกขี้หนูสดแล้วยังมีสมุนไพรชนิดอื่น เช่น ใบหม่อน มะระขี้นก
ฯลฯ ที่มีผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป
เพื่อใช้สมุนไพรดังกล่าวเสริมกับการรับประทานยาแผนปัจจุบัน
สำหรับงานวิจัยที่จะทำต่อไปในอนาคตจะศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานต่อไป
|