ขอพริกน้ำปลาด้วยคับ
ขอพริกน้ำปลาด้วยค่ะ!! ประโยคคุ้นเคยสำหรับผู้ที่กำลังจะรับประทานอาหารจานโปรดที่ตั้งอยู่ตรงหน้า
แม้กระทั้งการไปรับประทานอาหารหรูหราถึงภัตตราคารชื่อดัง ก็ยังไม่วายที่จะขอ "พริกน้ำปลา" เหตุเพราะกินจนติดเป็นนิสัย...
บางร้านถึงกับมีวางเอาไว้เพื่อบริการกันแบบจุใจให้ตามโต๊ะทุกตัวกันเลยทีเดียว!! แต่เดี๋ยวก่อน!! คุณรู้หรือไม่ว่า!! นั่นคือการหยิบยื่นตัวการทำลายสุขภาพของคุณโดยแท้...
..."พริกน้ำปลา" เป็นโซเดียมที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดแต่คนเรามักมองข้าม จนปัจจุบัน "พริกน้ำปลา" แทบจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของคนไทยเราไปเสียแล้ว
หากเรายังเติมกันแบบไม่ยั้ง บริโภคกันในปริมาณที่มากเกินไปโรคร้ายอย่าง "โรคไต" จะถามหาได้โดยไม่ตั้งตัว มิหนำซ้ำยังก่อเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างง่ายๆ
อีกด้วย แต่ที่น่าตกใจก็คืออาจถึงขั้นเป็นโรคหัวใจถึงขั้นหัวใจวายตายได้อีกด้วย
ซึ่งการบริโภคโซเดียมต่อวันนั้น
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กำหนดไว้ว่าควรบริโภคเพียง 1400
มิลิกรัมต่อวันเท่านั้น
แต่จากการตรวจสอบปริมาณโซเดียมในอาหารไทยที่ส่วนมากจะมีรสจัด
พบว่ามีโซเดียมเกินกว่ามาตรฐานกำหนดอย่างมาก
ซึ่งแต่ละมื้ออาหารก็จะมีโซเดียมเกินกำหนดอยู่แล้ว ดังนั้น
เมื่อเรารับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ ก็เท่ากับว่า
เราได้รับโซเดียมจากอาหารเกินกว่าที่กำหนดอย่างมากมายมหาศาล
โดย รศ.นพ.พีระ
บูรณะกิจเจริญ แพทย์ที่ปรึกษาภาควิชาโรคความดันโลหิตสูง ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
อุปนายกสมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "เกลือ" เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจโต โรคไต โรคทางตา โรคหลอดเลือดแดงตีบ รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง ซ้ำร้ายยังทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์
อัมพาต ซึ่งเป็นสาเหตุการตายถึงอันดับ 3 ของโลก
ที่สำคัญจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า
แนวโน้มตัวเลขผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยสูงขึ้นร้อยละ 71
ซึ่งมีเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่รู้ตัวว่ากำลังมีภาวะความดันโลหิตสูง
จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันคนไทยมีการบริโภคเกลือเพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะคนที่มีอายุระหว่าง 40-49 ปี คนกลุ่มนี้บริโภคเกลือมากขึ้นกว่าเดิมถึง 2
เท่า และยังเป็นกลุ่มอายุที่มักพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยพบว่าในภาคเหนือ
มีจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ภาคกลาง กรุงเทพฯ
ภาคอีสานและภาคใต้
อาหารจำพวกรสเค็มนั้น นอกจากเครื่องปรุงรส เช่น
น้ำปลา ซีอิ๊ว กะปิ ปลาร้า แล้วนั้น “เกลือ”
ยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องปรุงรสที่แฝงอยู่ในอาหารและขนมเกือบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์
อาหารจานด่วนและขนมกรุบกรอบต่างๆ
ซึ่งนายแพทย์สุขุม
กาญจนพิมาย ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อธิบายเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงเอาไว้ว่า “โรคความดันโลหิตสูง”
ที่เราอาจจะมองว่าไม่รุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิตได้มีอาการเบื้องต้น
แค่ปวดศีรษะช่วงบ่าย
วิงเวียนศีรษะบ้างนั้นแท้ที่จริงแล้วหัวใจกับความดันมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง
โดยในคนปกติทั่วไปจะมีแรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว หรือความดันโลหิตสูงช่วงบน
วัดค่าได้ไม่ควรเกิน 140 มม.ปรอท ส่วนแรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว
หรือความดันช่วงล่างนั้น ไม่เกิน 90 มม.ปรอท ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม
แต่หากต้องการทราบว่าความดันโลหิตช่วงบนปกติแต่ละอายุจะมีค่าเท่าไรนั้นสามารถคำนวณได้โดย
ใช้อายุจริงบวกกับ 100 จะเท่ากับความดันที่เหมาะสมของเรา
ผลแทรกซ้อน...ที่อาจเกิดขึ้นจากการมีความดันโลหิตสูง คือ
สายตาเสื่อม เนื่องจากหลอดเลือดในตา
อาจตีบตันหรือแตกมีการตกเลือดในตาหรือบวมในชั้นตาที่รับภาพ อาการทางสมอง
หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก มีผลทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะรุนแรง
อาจชักไม่รู้ตัวและเป็นอัมพาตได้ถ้ารักษาไม่ทัน หัวใจล้มเหลว
จากอาการที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น จึงทำให้หัวใจพองโต
เกิดอาการเหนื่อยหายใจลำบาก และยังทำให้หลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จนกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ รวมถึง เส้นเลือดแดงใหญ่
โป่งพองและอาจแตกได้
แล้วความดันโลหิตสูงส่งผลอย่างไรต่อหัวใจ
เกี่ยวกับเรื่องนี้นายแพทย์สุขุมให้ความรู้เพิ่มเติมว่า
ผลทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจและหลอดเลือดทำให้เกิดการแข็งตัวและตีบแคบลง
ส่งผลให้เสียหายอย่างรุนแรงต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
ทำให้หัวใจต้องบีบตัวแรงและทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ
โดยหัวใจจะมีขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดภาวะหัวใจวายและเสีย
ชีวิตในที่สุด
ช่างเป็นผลลัพธ์จากการรับประทานของ “เค็ม”
ที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งแต่...หากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและหันมาดูแลหัวใจให้มากขึ้นก็จะลดความเสี่ยงกับโรคดังกล่าวลงได้อย่างมากมาย
เริ่มต้นด้วยการลดกินเค็มลง ซึ่งปกติควรรับประทานเกลืออย่างน้อย 6
กรัมต่อวันก็ลดลงเหลือเพียง 3 กรัมต่อวัน โดยเฉพาะ
“พริกน้ำปลา” ที่ชอบกัน
จนติดเป็นนิสัยต้องเหยาะใส่ข้าวเปล่าก็เลิกซะ เพราะในกับข้าวต่าง ๆ
มีการปรุงรสด้วยน้ำปลาอยู่แล้ว
นอกจากนี้ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำหรือไม่มีไขมันเลยยิ่งดี
รับประทานธัญพืชให้มากขึ้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา…แล้วคุณจะห่างไกลโรคภัยต่างๆ
ได้อย่างสิ้นเชิง.
|