ลูกใต้ใบ ตามภูมิปัญญาไทยแต่ดั้งเดิม ใช้รักษาอาการไข้ รักษาโรคตับ จากการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่า ใต้ใบไม่มีพิษต่อตับ นอกจากนี้ ยังป้องกันพิษต่อตับ ของพาราเซตตามอล ในสัตว์ทดลอง ซึ่งจะต้องศึกษาวิจัยในคนต่อไป ขี้เหล็ก ผักพื้นบ้านไทยคลายเครียด พบสารสำคัญคือ บาราคอล ผลการวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่า สามารถทำให้หลั่งสารสำคัญ ชื่อ 5-HT ในคนปกติ ที่มีความเครียด จะหลั่งสารชนิดนี้น้อย ซึ่งคนที่กินแกงขี้เหล็ก จะทำให้หลับสบาย ถ่ายสะดวก ปัจจุบัน มีการใช้ขี้เหล็ก มาทำเป็นยานอนหลับกันมาก ข้อควรระวัง การนำขี้เหล็ก มาใส่แคปซูลโดยตรง ไม่เหมือนที่คนโบราณ ที่กินเป็นอาหาร โดยการต้ม และนำมาแกงนั้น ก็อาจจะทำให้มีพิษต่อตับได้ ดังนั้น ควรกินแบบอาหาร โดยการต้มน้ำทิ้งก่อนนำมาแกง และไม่ควรกินติดต่อกันทุกวัน ซึ่งผลการวิจัยนี้ จะมีประโยชน์ในการทำยา อย่างปลอดภัย ต่อประชาชนต่อไป โลดทะนงแดง ต้านพิษงูเห่าในสัตว์ทดลองได้ สมุนไพรโลดทะนงแดง ในสมัยโบราณ มีการนำมาใช้กับผู้ที่ถูกงูพิษกัด แต่เนื่องจากยังขาดข้อมูล ที่เป็นวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน เพราะการได้รับพิษงูนั้น เป็นอันตรายเกินไป และเป็นการเสี่ยงที่จะแนะนำให้ใช้ในคน แต่จากการทดลองพบว่า สมุนไพรโลดทะนงแดงสามารถยืดอายุ การตายของหนู ที่ได้รับพิษงูเห่าได้ แต่มิได้หมายถึงว่า หนูรอดตาย ผลการวิจัยนี้ ยืนยันว่า สมุนไพรชนิดนี้ มีฤทธิ์ต่อพิษงูเห่า ข้อแนะนำในการนำมาใช้ กับคน ซึ่งเป็นการเสี่ยงมาก จึงขอแนะนำให้รักษาแบบแผนปัจจุบัน คือ การรับเซรุ่ม หรือการใช้กรณีผสมผสาน หรือในภาวะเร่งด่วน เช่น ช่วงระหว่างการเดินทางในชนบท พื้นที่ที่ห่างไกลโรงพยาบาล อาจจะนำสมุนไพรชนิดนี้ มาใช้กับผู้ป่วยได้ แต่ต้องแนะนำให้รีบไปโรงพยาบาล เพื่อรับเซรุ่ม เพราะพิษงู เป็นอันตรายต่อระบบประสาท ระบบการหายใจ อาจเสียชีวิตได้ ถ้ารักษาไม่ถูกวิธี ซึ่งในการศึกษาวิจัย จะต้องมีการพัฒนาก้าวต่อไป สมุนไพรไทย เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปัจจุบัน พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทย แตกต่างไปจากเดิมมาก ทำให้ได้รับสารอนุมูลอิสระ เข้าในร่างกายมากเกินความจำเป็น เช่น ผู้ที่ชอบกินของปิ้ง ย่าง เผา กินผักผลไม้ที่มีสารพิษ ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ ได้นำเอาสมุนไพร ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น ใบช้าพลู สีเสียด กานพลู ชาแห้ง ใบชาสด เปลือกต้นสะเดา ชาจีน หม่อน เมล็ดมะขาม สมอพิเภก เป็นต้น ดังนั้น ข้อแนะนำในการรับประทานอาหาร ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ ผักพื้นบ้านไทยหาง่าย สามารถป้องกันโรคได้ คนไทยควรกินผักผลไม้มากๆ ทุกๆ วัน เพื่อให้ร่างกายมีสารต้านอนุมูลอิสระ และควรกินผ้กพื้นบ้านหลากหลาย ที่มีอยู่ตามท้องถิ่น และตามฤดูกาล หญ้าหวาน ผลการวิจัยหญ้าหวาน พบว่า สารสะกัดอย่างหยาบ ของหญ้าหวาน ไม่มีผลต่อการเป็นหมัน ทั้งในระยะเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง และไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ของสมรรถภาพ ตับ ไต และค่าทางโลหิตวิทยา ในแง่ของการส่งเสริมพัฒนาสมุนไพร กอรปกับประเทศไทย กำลังประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเร่งดำเนินการ เพื่อนำหญ้าหวาน และอนุญาตให้ใช้หญ้าหวาน แทนสารที่ให้ความหวาน สังเคราะห์จากต่างประเทศ จะทำให้ประหยัดเงินมิให้รั่วไหล ในต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง หญ้าหนวดแมว เป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไปตามบ้าน ใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากมีเกลือโปแตสเซียมมาก หญ้าหนวดแมวใช้รักษานิ่วได้ ทั้งนิ่วด่าง ซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน) ซึ่งมักจะเป็นก้อน ที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน และใช้รักษานิ่วกรด ซึ่งเกิดจากกรดยูริก นิ่วจำนวนนี้ จะไม่เป็นก้อน แต่จะร่วนเป็นเม็ดทราย ไม่ทึบแสง มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์ และเครื่องในสัตว์มากเกินไป ทำให้มีกรดยูริกสูง เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีโปแตสเซียมสูง จะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้กรดยูริก และเกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน ช้วยป้องกันไม่ให้แคลเซียม ตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวด หญ้าหนวดแมว ไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว ดังนั้น นิ้วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผล ใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็กๆ ฤทธิ์ขับปัสสสาวะ ของหญ้าหนวดแมว จะช่วยกันเม็ดนิ่วเล็กๆ ให้หลุดออกมา