สิว โรคที่ใครๆ ก็รู้ แต่ใช่ว่าใครจะเข้าใจ สิวเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไขมันและรูขุมขน มักพบตามใบหน้า หลัง หน้าอก การวินิจฉัยไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก (แต่ต้องระวังอาการแพ้ตามรูขุมขน ซึ่งพวกนี้อาจทำให้สับสนกับสิวได้ และเมื่อทายา รักษาสิวไปแล้วอาการยิ่งเห่อมากขึ้นเสียอีก) ส่วนใหญ่ก็เริ่มเป็นตั้งแต่ในวัยรุ่น (แต่มีพบได้ในเด็กอายุ 8-9 ขวบ ก็เคยมีรายงาน) และช่วงระยะเวลาของการมีสิว (ACNE LIFE ) จะอยู่ที่ประมาณ 8 -14 ปี ว่ากันว่า 85 % ของกลุ่มวัยรุ่นเป็นสิวไม่มาก และมักซื้อยารักษาเอง ในขณะที่อีก 15 % เป็นสิ่งที่ ค่อนข้างน่ากลัว และกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องปรึกษาแพทย์โดยตรง
มีการเปลี่ยนแปลง (แต่ทำไมถึงมีการเปลี่ยนแปลง ยังไม่มีใครทราบรายละเอียดชัดเจน อาจเป็นจากฮอร์โมน ความเครียด การพักผ่อนน้อย เป็นต้น) ของต่อมรูขุมขนอันเป็นสาเหตุให้เกิดสิว ดังนี้
- มีการเพิ่มการขับน้ำมันจากรูขุมขน - ท่อรูขุมขนอุดตัน - แบคทีเรียบริเวณนี้ ทำงานมากเกินไป - มีการอักเสบ
หลายคนโดยเฉพาะผู้ใหญ่เจ้านายที่ทำงาน , บริษัทประกันสุขภาพต่าง ๆ ฯลฯ เข้าใจว่าสิวไม่ได้เป็นโรคไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมากมาย เป็นแล้วเดี๋ยวก็หาย เป็นแค่เรื่องของความสวยงาม พวกที่มารักษาก็น่ารำคา ห่วงแต่เรื่องดูดี ดูไม่ดี จริง ๆ แล้วสิวก่อปัญหาได้มากกว่านั้นมากนัก ทั้งในแง่ของสังคม อาชีพ และสภาพจิตใจ เคยมีการทำสำรวจในกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นสิว คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่คือ ความนับถือตัวเองลดลง รู้สึกประดักประเดิดเวลาอยู่ต่อหน้าผู้คน รู้สึกตัวเองไม่น่ามอง มีวัยรุ่นคนหนึ่ง เคยถูกเพื่อนแหย่เล่นว่า ถ้าผู้หญิงมาหอมแก้มนาย เขาคงดูดติดเอาหนองจากหน้านายออกไปด้วย ลองคิดดูว่าถ้าเป็นลูกหลานเราโดนแหย่เล่นแบบนี้บ้าง สภาพจิตใจจะเป็นอย่างไร ในรายที่เป็นสิวชนิดรุนแรง แน่นอนย่อมมีผลกระทบต่ออาชีพด้วย คิดง่าย ๆ ถ้าหากจะสมัครเป็นพนักงานในร้านเสริมสวย ร้านเครื่องสำอาง ร้านขายเสื้อผ้า ประชาสัมพันธ์ คิดว่านายจ้างจะรับใครระหว่างความสามารถที่ใกล้ เคียงกัน แต่อีกคนมีสิวเขรอะ ดังนั้นปัญหาเรื่องสิวจึงไม่ใช่แต่ว่าผู้ที่มารักษาจะทำตัววิตกจริตเกินไป แต่มันมีผลถึงสภาพจิตใจ อาชีพการงาน และอะไรอีกหลายอย่างชนิดที่ผู้ที่ไม่ผ่านจุดนั้นมาไม่มีทางเข้า ใจถึงได้
สำหรับคนที่เป็นสิวต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกัน
1. สิวเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ (ในช่วงที่รักษา) แต่จะต้องดูแลและป้องกันโดยใช้ยาทาอย่าง ต่อเนื่องตลอดอายุของสิว (ปกติ 8-14 ปี) 2. สิวเป็นโรคที่ตอบสนองต่อยาช้าในช่วงแรกของการรักษา แต่ถ้ามีการทำหัตถการอย่างอื่น ร่วม เช่น กดสิว , ฉีดยากรณีสิวอักเสบ , ฟื้นฟูสภาพผิว ก็อาจทำให้การรักษาเห็นผลเร็วขึ้นได้
3. การใช้ยากิน มีความสำคัญในช่วงการรักษา 2-3 เดือนแรก
4. การรักษาสิว และการใช้ยา ต้องพิจารณาถึงแง่ผลดี ผลเสีย ของผลลัพธ์ที่ได้เสมอเช่นการใช้ยาในกลุ่มวิตะมิน A อาจจะดูแรงไป แต่ถ้าเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็น(ตลอดชีวิต)ก็อาจจะคุ้มและได้ผลดี ทั้งนี้ต้องอยู่ในความดูแลของตจแพทย์ (แพทย์ผิวหนัง) อย่างใกล้ชิด
5. หลังจากการรักษา จนถึงหายดีแล้ว แพทย์อาจจะค่อย ๆ ให้หยุดยากิน แต่ทั้งนี้ยังไม่ให้หยุดยาทาโดยเด็ดขาด ควรจะทาต่อสักพักใหญ่ๆ และพิจารณาค่อย ๆ ลดความถี่ลง (มีตัวอย่างมากมาย หลังจากรักษาดีแล้วก็ไม่น่าพบแพทย์อีกเลย อีก 6 เดือนให้หลัง ก็มีสิวขึ้นมาใหม่ก็ต้องเริ่มยากิน - ยาทากันใหม่ )
6. กินยากินอย่างไร - กลุ่มยาเตตร้าไซคลิน (TETRACYCLINE) ปกติให้กินวันละ 2 ครั้ง และกินก่อนอาหาร 30 นาที ไม่กินร่วมกับนมโดยเด็ดขาด ถ้าลืมกินก่อนอาหารก็ให้กินทันทีที่นึกขึ้นได้ - กลุ่ม ด็อกซีซัยคลิน [DOXYCYCLINE] , มิโนซัยคลิน [MINOCYCLINE], แบคทริม [BACTRIM R], โรแอคคิวเทน [ROACUTAN R] ให้กินหลังอาหาร 7. ทายาอย่างไร - ยาทาส่วนใหญ่ มักจะต้องทาวันละ 2 ครั้ง บริเวณที่เป็นสิวกว้าง ๆ ไม่ใช่รักษาเฉพาะหัวสิวเท่านั้น เพราะอย่าลืมว่า นอกจากรักษาสิวที่ขึ้นมาแล้ว ยังต้องคุมบริเวณอื่นที่มีแนวโน้มจะมีสิวอีกด้วย - ยาทาที่แพทย์แนะนำให้ล้างออก แสดงว่ามีความระคายเคืองสูง ดังนั้นไม่ควรทาทิ้งไว้เด็ดขาด (ปกติคือทิ้งนาน 5-30 นาทีแล้วล้างออก) ที่มักจะแนะนำคือ ทาทิ้งไว้เมื่อรู้สึกแสบคันให้ล้างออก แต่ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 30 นาที
8. ใช้อะไรล้างหน้าดี - เนื่องจากยาทารักษาสิว ยากินบางตัว เช่น ยากลุ่มวิตะมิน A มักจะทำให้มีผิวแห้งขึ้นอยู่แล้ว ดังนั้น การใช้สบู่ควรเป็นสบู่อ่อน ๆ และไม่ถูหน้านานเด็ดขาด (จำไว้ว่าการล้างหน้า ถูหน้านานไม่ช่วยทำให้หน้าหายมันแน่นอน เพราะว่ามันไม่สามารถไปหยุดการทำงานของต่อมไขมันใต้ผิวหนังได้ สักพักหน้าก็จะมันใหม่ ยิ่งถูหน้าแรง ถูหน้านาน ต่อมไขมันยิ่งถูกกระตุ้นยิ่งผลิตไขมันออกมามากขึ้น) ดังนั้นนอกจากหน้าไม่หายมันแล้วยังได้ของแถมคือการมีผิวหนังอักเสบแดงเป็นขุยเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย ปกติที่แนะนำคือใช้ปริมาณสบู่อ่อน ๆ หรือครีมล้างหน้าอ่อน ๆ แต่น้อย ถูมือ 2-3 วินาที และลูบไล้หน้า 2-3 วินาทีแล้วล้างออก อาจจะรู้สึกลื่น ๆ หรือล้างไม่เกลี้ยงในช่วงแรก ๆ แต่พอเช็ดหน้าความรู้สึกมัน ๆ ก็หายไปเอง อีกอย่างที่ควรตระหนักก็คือล้างหน้าด้วยสบู่อ่อน ๆ หรือน้ำเปล่า โดยถูหน้าไม่นาน (2-3 วินาที) วันละหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้รู้สึกใบหน้าสดชื่นดีกว่า การถูหน้านาน ๆ (ครั้งละเป็นหลายสิบ วินาที) วันละ 1-2 ครั้ง (ซึ่งทำให้หน้าระคายเคืองเรียบร้อยแล้ว) - เนื่องจากหน้าจะแห้งลงอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่นล้างหน้า สระผม ระลึกไว้เสมอ ว่าการสระผมด้วยน้ำอุ่น จะทำให้หน้าโดนน้ำอุ่นมากกว่าล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นโดยตรงเสียอีก
9. เรื่องแผลเป็นจะทำอย่างไรดี ก่อนอื่นต้องตระหนักว่าหลักการ ของการรักษาสิว คือต้องรักษาและป้องกันสิวให้เต็มที่ และให้หายก่อนมีแผลเป็น เพราะว่าเมื่อเป็นแผลเป็นแล้ว โอกาสแก้ไขก็ยากเต็มที แต่โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยที่ เป็นสิวจะมีแผลเป็นในระดับหนึ่งซึ่งไม่มาก และเมื่อแผลหายแดงแล้ว แผลเป็นจะดูดีขึ้น ตื้นขึ้น โดยปกติแล้วจะยอมรับได้ระดับหนึ่ง ในกรณีที่เป็นมากและเป็นลึกอาจต้องพิจารณาแก้ไขให้เป็นราย ๆ ไป เช่น การแต้มกรด TCA , การทำศัลยกรรมขัดผิว ( โดยใช้เลเซอร์หรือเครื่องกรอ) ในกรณีที่เป็นนูนก็ พิจารณาการฉีดยาละลายแผลเป็นนูนให้
10. ฟังคำแนะนำจากใครดี ปัญหาที่เจอบ่อยมากคือ หลังจากรักษาไปสักพักโดยเฉพาะการใช้ยากินบางตัว (กลุ่มวิตะมิน A) พวกเรามักจะกลับมาด้วยคำถามหลังจากไปคุยกับเพื่อน ๆ หรือญาติพี่น้องมา เช่น จะเป็นหมันไหม ? ยานี้เป็นยาฮอร์โมนหรือเปล่า จำไว้อย่างหนึ่งว่าการได้ถกคุยกับแพทย์ ผู้รักษาเป็นเรื่องที่ดีและจำเป็น การรู้ข้อมูลเกี่ยวกับยาบางตัวก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรต้องเปิดใจให้กว้าง และควรเชื่อผู้ที่เชี่ยวชามากกว่า บางครั้งก็น่าน้อยใจเหมือนกันที่บางคนมาพูดว่า เพื่อนหนูบอกว่า....... แล้วเพื่อนหนูทำอะไรครับ เป็นช่างเสริมสวยค่ะ อ้าว!! แล้วหนูเชื่อช่างเสริมสวยมากกว่าหมอหรอกหรือ ?
11. เรื่องแผลเป็นจะทำอย่างไรดี ก่อนอื่นต้องตระหนักว่าหลักการของการรักษาสิว คือต้องรักษาและป้องกันสิวให้เต็มที่ และให้หายก่อนมีแผลเป็น เพราะว่าเมื่อเป็นแผลเป็นแล้ว โอกาสแก้ไขก็ยากเต็มที แต่โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยที่ เป็นสิวจะมีแผลเป็นในระดับหนึ่งซึ่งไม่มาก และเมื่อแผลหายแดงแล้ว แผลเป็นจะดูดีขึ้น ตื้นขึ้น โดยปกติแล้วจะยอมรับได้ระดับหนึ่ง ในกรณีที่เป็นมากและเป็นลึกอาจต้องพิจารณาแก้ไขให้เป็นราย ๆ ไป เช่น การแต้มกรด TCA , การทำศัลยกรรมขัดผิว ( โดยใช้เลเซอร์หรือเครื่องกรอ) ในกรณีที่เป็นนูนก็ พิจารณาการฉีดยาละลายแผลเป็นนูนให้
อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ต้นแล้วว่าเรื่องของสิวมีบางแง่มุมที่เราจะยังไม่เข้าใจถ่องแท้ดี บทความ เหล่านี้คงช่วยให้เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ไม่ว่าในแง่ของคนรอบข้างจะเข้าใจหัวอกคนที่เป็นสิวมาก ขึ้น หรือคนที่เป็นสิวเองจะรู้จักวิธีดูแลปฏิบัติตัวทั้งในช่วงรักษาและป้องกัน อย่างไรก็ตามถ้ามีปัญหา อะไรที่ยังสงสัยอยู่ก็สามารถปรึกษาถามรายละเอียดกับแพทย์ผิวหนังทั่วไปได้ตลอดนะครับ
|