{นั่งนานๆ มีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร?}
เพราะยุคนี้เป็นยุคดิจิตอล จึงทำให้การทำงานต่างๆ ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานเป็นหลัก ด้วย ความสะดวกสบายนี้จึงทำให้หลายคน โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานที่มีมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ไม่ยอมลุกจากเก้าอี้ เพื่อต้องการเคลียร์งานให้เสร็จ
แต่ หารู้ไม่ว่าการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ เกิน 1 ชั่วโมงโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลัง ก้นกบ สะโพก และขาเกร็ง รวมไปถึงข้อ เส้นเอ็น และอวัยวะภายใน ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามมา
ดร.แพทริก อิริคสัน ไคโรแพรคเตอร์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ประจำคลินิกกายภาพบำบัดดีสปายน์ ไคโรแพรคติก กล่าวว่า อาชีพที่เสี่ยงเป็นโรคปวดหลังมากที่สุดก็คือ นักกราฟฟิกดีไซน์ พนักงานคีย์ข้อมูล และนักบัญชี ซึ่งบุลคลเหล่านี้มักใช้เวลานั่งอยู่ ที่โต๊ะคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน บางครั้งถึงกับข้ามคืนเลยก็มี ที่แย่ไปกว่านั้นยังมีวิธีการนั่งแบบผิด ลักษณะท่าทาง
นอกจากนั้นยังมีการใช้เก้าอี้ไม่ตรงกับสรีระจึงทำให้ เกิดอาการปวดหลังตามมาได้ ซึ่งการปรับเก้าอี้ จัดวางคอมพิวเตอร์ และจัด องค์ประกอบต่างๆ จะช่วยทำให้การนั่งทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น โดยมีหัวใจหลักๆ 3 ข้อดังต่อไปนี้
โต๊ะทำงาน และเก้าอี้
ควร ปรับพนักเก้าอี้ของคุณให้เอียง 100-110 องศา ควรปรับพนักเก้าอี้ขึ้นลงให้เหมาะสม หากมีหมอนเล็ก ๆ ก็ควรนำมาพิงหลัง หากจำเป็น เพื่อให้หลังตั้งตรง หรือหากเก้าอี้ทำงานมีระบบปรับหลังพนักพิงให้ปรับตำแหน่งเก้าอยู่เสมอ ให้ พนักพิงสามารถรองรับช่วงโค้งของกระดูกสันหลังช่วงเอวได้ดี
ปรับที่ วางแขนเพื่อให้ไหล่อยู่ในท่าที่ผ่อนคลาย หากที่วางแขนทำให้ทำงานไม่ถนัดก็ควรถอดออก
ควรปรับระดับความสูงของ เก้าอี้ เพื่อให้ขาของคุณถึงพื้น และทำให้เข่าขนานหรืออยู่ในระดับต่ำกว่าสะโพกเพียงเล็กน้อย และควรวาง สะโพกให้ไกลจากคอมพิวเตอร์ ก็จะสามารถป้องกันอาการปวดหลังที่เกิดจากการนั่งทำงานหน้าโต๊ะคอมพิวเตอร์ ได้
ปรับระยะห่างของช่วงโต๊ะไม่ควรให้ชนกับต้นขา ควรนั่งให้ระยะของขาตั้งฉากกับเก้าอี้ และควรปรับเบาะเก้าอี้ให้ได้ระดับการตั้งฉาก 90 องศาของเข่า
นอกจาก นั้นควรจะมีที่พักเท้ารองใต้เท้าเพื่อไม่ให้เท้าลอยขึ้นมาจากพื้น เมื่อปรับเบาะให้อยู่ในระดับเดียวกับความสูงของเก้าอี้แล้ว ควรจะหาอะไร มารองเพื่อให้ช่วงเข่าและเท้าผ่อนคลาย
การจัดวางตำแหน่งของแป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด
ควร ดึงถาดวางคีย์บอร์ดให้เข้ามาอยู่ใกล้ ๆ กับคีย์บอร์ด และวางให้อยู่ในตำแหน่งที่อยู่ข้างหน้า ดูว่าส่วนใดของคีย์บอร์ดที่ใช้ งานบ่อยมากที่สุด ให้ปรับส่วนที่ใช้งานบ่อย ๆ นั่นให้มาอยู่ตรงกลาง ควร ปรับความสูงของคีย์บอร์ดเพื่อให้ไหล่สามารถผ่อนคลาย ให้ข้อศอกอยู่ในลักษณะอ้าออกเล็กน้อยประมาณ 100-110 องศา ควรให้ข้อมือ และมืออยู่ในลักษณะตรง ถ้าหากแขนและข้อศอกสามารถตั้งฉาก 90 องศา ได้ก็จะทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยบริเวณแขนได้
ระดับของคีย์บอร์ดควร ขึ้นอยู่กับการนั่งของคุณ หากนั่งอยู่ด้านหน้าหรือลักษณะตรง พยายามวางตำแหน่งคีย์บอร์ดให้ห่างจากตัวไปอีกทาง
หากเอนตัวนอนเวลา พิมพ์งาน ก็ควรให้ตำแหน่งของคีย์บอร์ดอยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง เพื่อให้ข้อมืออยู่ในลักษณะตั้งตรง ที่วางข้อมืออาจจะช่วยทำให้คุณอยู่ ในท่าที่เหมาะสมได้ ที่วางข้อมือควรใช้เป็นที่พักฝ่ามือจากการพิมพ์งานเท่านั้น ไม่ควรใช้ ที่วางข้อมือในขณะที่พิมพ์งาน และไม่ควรใช้ที่วางข้อมือที่กว้างมากเกินไป หรืออยู่ในระดับที่สูงกว่าคีย์บอร์ด เพราะอาจจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณ แขนล้าได้
การวางเมาส์ควรวางให้ใกล้กับคีย์บอร์ดมากที่สุด และวางบนพื้นผิวที่เรียบลาดเอียงเล็กน้อย หรือใช้เมาส์วางบนที่วางเมาส์ แผ่น รองเมาส์ ก็อาจจะช่วยทำให้เมาส์อยู่ใกล้ตัวขึ้นได้
หากไม่สามารถวาง คีย์บอร์ดที่สามารถปรับได้ อาจจะต้องปรับระดับความสูงของโต๊ะทำงาน ความสูงของเก้าอี้ หรือใช้หมอนรองนั่งแทน เพื่อให้คุณนั่งได้สบายมากที่สุด ไม่ควรยกหัวไหล่เมื่อพิมพ์งาน ควรผ่อนคลายบริเวณบ่า และไหล่ให้มากที่สุด
การจัดวางจอคอมพิวเตอร์ ที่ถูกต้อง
ควรปรับจอภาพด้านบนสุด ให้อยู่ในแนวเดียวกับระดับสายตา ควรวางจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่เหนือคีย์บอร์ด และอยู่ตรงหน้า ตรงกับระดับสายตาในขณะที่นั่งประมาณ 2-3 นิ้ว ควรนั่งให้แขนห่างจากหน้าจอให้ยาวที่สุด และควรปรับระยะการมองเห็น พยายามหลีกเลี่ยงการเพ่งจ้องคอมพิวเตอร์ โดยการวางตำแหน่งจอให้เหมาะสม ถ้า จะให้ดีควรจะมีแผ่นกรองแสงเพื่อป้องกันการเสื่อมของตาด้วย
ปรับมุมจอ คอมพิวเตอร์ในแนวตั้ง และปรับอุปกรณ์ควบคุมจอเพื่อลดการมองแสงที่ออกจากคอมพิวเตอร์ หรือควร ปรับม่านหากมีแสงสว่างมากจนเกินไปทำให้มองไม่เห็นจอคอมพิวเตอร์
อย่าง ไรก็ตามการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวด เมื่อย หรือ กล้ามเนื้อเกร็งได้ แม้ว่าจะมีการจัดวางตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ ปรับเก้าอี้ พนักพิง และการนั่งที่ถูกต้องแล้ว แต่การนั่งอยู่หน้า คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะทำให้การไหลเวียนของเลือดหยุดชะงัก และทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าได้ ซึ่งการหยุดพักและผ่อนคลายเป็นวิธี ป้องกันได้ดีที่สุด โดย ดร.แพทริก อิริคสัน ได้ให้คำแนะนำถึง วิธีการ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้กับพนักงานออฟฟิศง่ายๆ ที่สามารถปฏิบัติได้จริง ดังนี้
ควรจะพักบริหารร่างกายสัก 1-2 นาที ในทุก ๆ 20-30 นาที หลังจากที่นั่งทำงานในแต่ละชั่วโมง
เพื่อให้ร่างกาย และกล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย พยายามหางานอย่างอื่นทำแทนในขณะที่หยุดพัก หรือ จะเดินไปเข้าห้องน้ำ ยืดเส้น บิดตัวไปมา ก็อาจจะช่วยให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายมากขึ้น
ควรพักสายตา อย่างน้อย 5 นาที หลังจากที่จ้องดูหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เนื่องจาก แสง และรังสีต่างๆ ที่ออกจากจอ อาจทำให้ตาเมื่อยล้า และทำให้สายตาสั้นลงได้ ควรจะพักสายตา โดยการหลับตา หรือ มองไปบริเวณรอบๆ เป็นระยะๆ หากรู้สึกปวดตา ให้มองไปบริเวณที่มีสีเขียว ก็อาจจะทำให้รู้สึกสบายตา ขึ้น ไม่ควรจ้องมองไปที่แสงสว่าง หรือที่มีแดดจ้า
หากรู้สึกเมื่อย ก็ให้หยุดพัก ออกไปเดินสูดอากาศข้างนอก ล้างหน้า เพื่อเพิ่มความสดชื่น อย่าฝืนนั่งทำ เพราะอาจจะทำให้เสียสุขภาพได้
|