{ตัดวงจรเครียด...ก่อน ระเบิด}
นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า ปัญหาต่อตนเองที่เกิดจากความเครียดเป็นไปได้ทั้งการเจ็บป่วยทางกายและทางใจ ความเครียดสามารถส่งผลต่อการเจ็บป่วยทางกายได้ทุกระบบและมีผลแตกต่างกันไปใน แต่ละบุค คล เพราะจุดอ่อนในร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม อ่อน เพลีย ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดท้อง โรคกระเพาะ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงระบบภูมิต้านทานโรคลดลง คนเราถ้าเครียดมากๆ ภูมิต้านทานของร่างกายทำงานได้ไม่ดี ร่างกายก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย และมีการศึกษาจำนวนมากพบว่า คนที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังเป็นระยะเวลา ยาวนาน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งสูง
นอกจากผลกระทบทางด้าน ร่างกายแล้ว จิตแพทย์ระบุว่ายังมีผลกระทบต่อจิตใจอีกด้วย เพราะคนที่มีความเครียดนาน ๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาในชีวิตได้ ก็จะเกิดความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง ถ้าเป็นระยะเวลานานก็อาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ไม่สามารถทำงาน รับผิดชอบครอบครัวและชีวิตประจำวันได้บางรายอาจจะรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย ซึ่งเราพบเห็นเป็นข่าวจากสื่อเป็นประจำ
ผลกระทบของความเครียด นอกจากจะมีต่อตัวเองแล้ว ยังส่งผลต่อคนรอบข้างไม่น้อย
คนที่มีความ เครียดสะสม มักจะมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวได้ง่าย ทำให้บรรยากาศในครอบครัว หรือที่ทำงานไม่ดี คนรอบข้างพลอยเครียดและไม่มีความสุขตามไปด้วย และในหลายๆ ราย ความอดทนต่อความขัดแย้งต่างๆ จะลดลงและมักใช้วิธีแก้ ปัญหาด้วยความรุนแรงหรือทำร้ายผู้อื่น ทำให้เกิดเหตุเศร้าสลดใจติดตามมา
ทักษะ ในการจัดการกับความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกคน ซึ่ง แต่ละคนมีความสามารถในการรับความเครียดได้ไม่เท่ากัน ซึ่งนพ.ไกรสิทธิ์ บอกว่า
คนที่สุขภาพจิตแข็งแรงก็จะสามารถรับความเครียดได้มาก ถึงจุดเดือดยาก ล้มยาก ขณะที่คนที่สุขภาพจิตแข็งแรงน้อยก็จะรับความ เครียดได้น้อย ถึงจุดเดือดง่าย ผลกระทบจากความเครียดก็จะมีความรุนแรง เรา ทุกคนจึงมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะในการจัดการกับความเครียด โดยมีหลักการคร่าวๆ คือ พยายามลดแรงกดดันที่ไม่จำเป็นออก ให้เหลือน้อย ที่สุด และเพิ่มความสามารถของตนเองในการรับมือกับแรงกดดัน
นพ.ไกร สิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับแนวทางในการลดแรงกดดันนั้นสามารถทำให้หลายทางเช่น การ ปรับลดเป้าหมายหรือความคาดหวังต่าง ๆ ในชีวิตและการทำงานให้ลดลง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพราะการตั้งเป้าหมายสูงเกินไปไม่เหมาะ กับสถานการณ์ จะเป็นตัวสร้างแรงกดดันเกินจำเป็น นอกจากนี้การใช้ชีวิตแนวเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช้จ่ายหรือก่อหนี้เกิน กำลัง ก็จะช่วยลดแรงกดดันด้านภาระการเงิน ส่วนปัญหาแรงกดดันด้านเศรษฐกิจหรือความขัดแย้ง ทางการเมืองอาจกระทำได้ โดยลดการรับรู้ข่าวสารลง เพราะบางคนรับข้อมูลเข้ามากเกินไปโดยไม่รู้ตัว และ ไม่สามารถจัดการกับสิ่งที่รับเข้าไปได้ก็ก่อให้เกิดความเครียด
สำหรับ การเพิ่มความสามารถในการรับมือกับแรงกดดัน จิตแพทย์ให้แนวทางว่า สามารถทำได้โดยการจัดการกับความเครียด ไม่ให้สะสมอยู่ในตัวเรา เพราะถ้าความเครียดสะสมมาก ๆ เมื่อเจอกับความขัดแย้ง โอกาสที่จะถึงจุดเดือดระเบิดอารมณ์ก็เป็นไปได้ง่าย
“ถ้าจะเปรียบ เทียบสุขภาพใจกับสุขภาพกาย ด้านร่างกายเราต้องอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน เพื่อขจัดสิ่งสกปรก เหงื่อไคล สะสมก่อให้เกิดโรคผิวหนังหรือโรคติดเชื้อตามมา ด้านจิตใจก็เช่นกัน แต่ละวันเราจะต้องเจอกับเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบจิตใจ ทำให้เกิดอารมณ์ ต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ทั้งบวกและลบ อารมณ์ลบที่สะสมและไม่ได้ถูกกำจัดออกก็จะก่อให้เกิดความเครียดและส่งผลให้ เกิดความเจ ็บป่วยได้ ดังนั้นเราจึงควรหาเวลาส่วนตัวในแต่ละวันเพื่อ ชำระล้างอารมณ์ลบออกจากใจ เช่น ฟังเพลงที่ชอบ ทำงานอดิเรก เล่นกีฬา ปั่นจักรยาน ชมนกชมไม้เพื่อพักสมอง รวมถึงการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ”
สำหรับ การเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเครียดนั้น นพ.ไกรสิทธิ์ แนะนำว่า ควรฝึกทำอะไรให้ช้าลง
เพราะปัจจุบันชีวิตประจำวันของเราเต็มไปด้วย ความรีบเร่ง ทำให้เรื่องของสมาธิและสติในชีวิตประจำวันของเราลดน้อยลง คน ที่มีสมาธิและสติที่ดีจะมีโอกาสรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง ทำให้การควบคุมอารมณ์ทำได้ดีขึ้น ปัญหาในชีวิตที่เกิดจากการขาดสติ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ก็จะลดน้อยลง การใช้วิธีนับ 1 ถึง 10 หรือการออกจากสถานที่ที่ทำให้ เกิดอารมณ์ขุ่นมัวก็ยังเป็นวิธีที่ดีที่จะ ช่วยลดโอกาสเกิดการระเบิดอารมณ์ได้
อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเพิ่มความ สามารถในการรับมือกับความเครียดได้ก็คือ การหาความรู้เพิ่มเติมด้านจิตวิทยาและศาสนา เพื่อเพิ่มมุมมองชีวิต มุมมองปัญหาได้กว้างขึ้น เมื่อชีวิตจะต้องประสบกับปัญหาก็สามารถมองเห็นทางเลือกสำหรับทางออกได้มา ขึ้นกว่าเดิ ม โอกาสจะรู้สึกว่าเกิดทางตัน ท้อแท้ หรือโกรธแค้นก็น้อยลง ความสามารถคิดหรือมองโลกแง่บวก และการให้อภัยก็ทำได้ดีมากขึ้น เพื่อเป็นการตัดวงจรเครียดก่อนที่จะเกิด เหตุการณ์ร้ายแรงน่าสลดใจตามมา
|