พระพิฆเนศ เทพแห่งความสำเร็จ
"สิทธิวินายัก" องค์พระพิฆเนศที่มีชื่อเสียงที่สุดของอินเดียประเทศ
เชื่อกันว่าเป็นองค์ประธานของเทวรูปพระพิฆเนศทุกองค์ในโลกนี้
คาถาบูชาพระพิฆเนศ (แบบย่อ)
โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
พระนามของพระพิฆเนศ
สำหรับพระนามของพระพิฆเนศ สามารถเขียนออกมาเป็นภาษาไทยได้หลายแบบ หลายอย่าง ซึ่งก็แล้วแต่ว่า จะเขียนกันแบบไหน ก็ไม่ผิด
พระพิฆเนศ, พระพิฆเณศ, พระพิคเนศ, พระพิคเณศ, พระพิฆเนศว์, พระพิฆเณศว์, พระพิคเนศว์, พระพิคเณศว์, พระพิฆเนศวร, พระพิคเนตร, พระพิฆเณศวร, พระพิคเนศวร, พระพิคเณศวร, พระคเนศ, พระคเณศ, พระคเนศวร, พระคเณศวร, พระคเนศว์, พระคเณศว์, พระพิฆเนตร, พระวิฆเนศวร, และยังมีชื่อ พระคณปติ, พระคณบดี, เหรัมภะ, เอกทันตะ และพระนามอื่นๆ อีกมากมาย
พระพิฆเนศปางต่างๆ
แม้ว่าพระพิฆเนศจะมีพระนามมากมายถึง 108 พระนามไปจนถึง 1008 พระนาม แต่ในแง่เทวประติมานั้นมีอยู่เพียง 8 ถึง 9 ปางเท่านั้นที่คนนิยมบูชา โดยการบูชาในแต่ละปางก็ให้คุณที่แตกต่างกันออกไป
พระพิฆเนศ 32 ปาง
ปางที่ 1 : พระบาล คณปติ (Bala Ganapati)
อวตารภาคเด็ก : ปางอันเป็นที่รักของทุกคนและเด็กๆ
ปางที่ 2 : พระตรุณ คณปติ (Taruna Ganapati)
อวตารภาควัยหนุ่ม : ปางที่ให้คุณประโยชน์ในกิจการงาน
ปางที่ 3 : พระภักติ คณปติ (Bhakti Ganapati)
ปางบูชาขอพระเวท เพื่อความสมบูรณ์เติมเต็มของชีวิต
ปางที่ 4 : พระวีระ คณปติ (Veera Ganapati)
อวตารแห่งนักรบ ปางออกศึก และปราบมาร ให้อำนาจในการบริหารปกครอง และความเป็นผู้นำ
ปางที่ 5 : พระศักติ คณปติ (Shakti Ganapati)
ปางทรงอำนาจเหนือการงาน การเงิน และความรัก
ปางที่ 6 : พระทวิชา คณปติ (Dwija Ganapati)
ปางของการบุกเบิก เริ่มต้นชีวิตใหม่ เปิดกิจการใหม่
ปางที่ 7 : พระสิทธิ คณปติ (Siddhi Ganapati)
ปางประทานความสมบูรณ์ และทรัพย์สมบัติ
ปางที่ 8 : พระอุจฉิษฏะ คณปติ (Uchhishta Ganapati)
ปางเสน่หา และความสำเร็จสมปรารถนา
ปางที่ 9 : พระวิฆณา คณปติ (Vighna Ganapati)
ปางขจัดอุปสรรค และแก้ไขปัญหา
ปางที่ 10 : พระกษิประ คณปติ (Kshipra Ganapati)
ปางประทานพรให้สำเร็จรวดเร็ว
ปางที่ 11 : พระเหรัมภะ คณปติ (Heramba Ganapati)
ปางปกป้องคุ้มครอง
ปางที่ 12 : พระมหา คณปติ (Maha Ganapati)
ปางประทานความสุขอันยิ่งใหญ่ให้ครอบครัว
ปางที่ 13 : พระวิชัย คณปติ (Vijaya Ganapati)
ปางกำจัดอุปสรรค และความมืดมิด
ปางที่ 14 : พระลักษมี คณปติ (Lakshmi Ganapati)
ปางแห่งความมั่งมีศรีสุข และปรีชาญาณ
ปางที่ 15 : พระนฤตยะ คณปติ (Nritya Gannapati)
ปางนาฏศิลป์ เจ้าแห่งลีลาการร่ายรำ และศิลปะการแสดง
ดูปางทั้ง 32 ปางของพระพิฆเนศทั้งหมด คลิก
พระสมเด็จวัดระฆัง |
พระรอดวัดมหาวัน |
พระซุ้มกอ |
พระผงสุพรรณ |
พระนางพญา |
|
คาถาบูชาพระพิฆเนศ
คาถา บทสวดบูชาพระพิฆเนศที่นิยมใช้มากที่สุด
- โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
(เป็นบทสวดหลัก)
- โอม กัง คณปัตเย นะมะฮา
(บทสวดของอินเดียเหนือ)
- โอม พิไลยาร์ พิไลยาร์ นะโม นะมะฮา
(บทสวดของอินเดียใต้)
- โอม เหรัมภะ ยะนะมะฮา
(หมายถึง ขอบูชามหาเทพผู้ยิ่งใหญ่)
- โอม เอกทันตะ ยะนะมะฮา
(หมายถึง ขอบูชาเทพผู้มีงาข้างเดียว)
- โอม กัง คณปติ ชารานัม กะเนชา
(หมายถึง ขอบูชาเทพผู้ทรงเป็นเกราะกำบังข้าพเจ้า)
- โอม วักกระตุณฑา ฮัม
(หมายถึง ขอนมัสการเทพผู้มีงวงยาวโค้ง)
ดูคาถาบทสวดต่อ คลิก |
ประวัติพระพิฆเนศ
คติการนับถือพระพิฆเนศ น่าจะเข้ามาถึงประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 โดยเข้ามาทางภาคใต้ก่อน แต่เทวาลัยของพระพิฆเนศ ที่เก่าที่สุดในเมืองไทย ปรากฏที่ แหล่งโบราณคดีเขาคา จ.นครศรีธรรมราช มีอายุในพุทธศตวรรษที่ 12 เทวรูปพระพิฆเนศที่เก่าที่สุด ก็พบทางภาคใต้ของไทย และกำหนดอายุได้ในช่วงเวลานั้น เชื่อว่าบรรพชนในภาคใต้ ในยุคดังกล่าว คงจะนับถึอพระพิฆเนศ ตามแบบอินเดีย คือเป็นเทพผู้ขจัดอุปสรรค อ่านประวัติพระพิฆเนศ คลิก
จากหนังสือตรีเทวปกรณ์
|
การบูชาพระพิฆเนศ
การบูชาและตั้งพระพิฆเนศ ท่านเป็นเทพที่มีศักดิ์ หรือตำแหน่งที่ใหญ่พอสมควร ซึ่งทางพระศิวะ พระนารายณ์ พรพรหม ได้กล่าวไว้ว่า "หากการทำพิธีใดๆ โดยไม่ได้เชิญองค์พระพิฆเนศก่อน จะถือว่าพิธีนั้นๆ ไม่สมบูรณ์" ดังนั้นควรตั้งไว้ที่บนพานสีทอง มีผ้าขาว (หรือผ้าเช็ดหน้าผืนเล็กสีขาว) ไว้บนพานทอง และนำองค์ท่าน วางไว้ข้างบนผ้าผืนนั้น และให้หันหน้าองค์ท่านไปทางทิศตะวันออก หรือ ไม่ก็ทางทิศเหนือ ถ้าไม่ได้จริงๆ ถูกบังคับให้เป็นทิศใต้ ก็ไม่เป็นไร ขอให้ยกเว้นทางทิศตะวันตก เนื่องจากว่า ตามโบราณกล่าวไว้ว่า ทิศตะวันตกเป็นทิศของคนตาย เป็นทิศอับโชคไม่สมควรอย่างยิ่ง ให้สังเกตุว่า เมื่อคนที่ตาย เขาจะเอาหัวหันไปทางทิศตะวันตกเสมอ ดังนั้นไม่สมควรที่จะหันท่าน ไปทางทิศตะวันตกครับ อ่านการบูชาพระพิฆเนศ คลิก |
พระพิฆเนศประจำวันเกิด
- วันอาทิตย์ - วันจันทร์ - วันอังคาร - วันพุธกลางวัน - วันพุธกลางคืน - วันพฤหัสบดี - วันศุกร์ - วันเสาร์
รวมรูปพระพิฆเนศ
ดูรูปพระพิฆเนศทั้งหมด
|